NEWS>>ผมถูกหลอกให้ใช้ก๊าซเอ็นจีวี” คำบอกเล่าของแท็กซี่
avatar
toykrub


http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000012952

“ตอนนั้นรถแท็กซี่ส่วนใหญ่ใช้ก๊าซแอลพีจีหรือก๊าซหุงต้ม อยู่ๆ ทางปตท. ก็มาเสนอให้เปลี่ยนเป็นก๊าซเอ็นจีวี โดยไม่ต้องเสียค่าอุปกรณ์และติดตั้งใดๆ พร้อมกับแถมเงินให้อีกคนละสองพันบาท ราคาก๊าซเอ็นจีวีก็ถูกกว่า ใครบ้างจะไม่เอา” นี่คือความรู้สึกของคนขับรถแท็กซี่รายหนึ่งที่เล่าให้ผมฟังในช่วงเทศกาลตรุษจีน หลังจากราคาก๊าซเพิ่งขึ้นไปได้ไม่กี่วัน
      
        “สถานีเติมก๊าซเอ็นจีวีก็มีน้อย ไปทางอีสานบางครั้งต้องรอสองสามชั่วโมงกว่าจะได้เติม บางทีพอจะถึงคิวเราก๊าซหมดอีก แท็กซี่บางคันรับผู้โดยสารที่เป็นฝรั่ง เมื่อไปแวะเติมก๊าซระหว่างทาง ต้องรอนาน ฝรั่งเขาก็ลากกระเป๋าลงไปหารถคันอื่นเฉยเลย ซึ่งก็น่าเห็นใจฝรั่งเขานะ”
      
        “ทำไมไม่กลับไปใช้แอลพีจีอีกละ” ผมถาม
      
        “จะเอาเงินที่ไหนละ ค่าติดตั้งสองหมื่นกว่าบาท จำนวนสถานีแอลพีจีมากกว่าก็จริง แต่ราคาก็ขึ้นเหมือนกัน ผมถูกเขาหลอกให้เลิกใช้แอลพีจีแล้วมาใช้เอ็นจีวี”
      
        “ก็เอาเงินสองพันไปคืนให้เขาซิ แล้วบอกเขาว่าทำกลับมาให้เหมือนเดิม” ผมแหย่เล่นพร้อมกับทิ้งท้ายว่า “การตลาดของเขาแบบเดียวกับการขายยาเสพติดเลยนะ หลอกให้คนเสพฟรีจนติดแล้วค่อยขายราคาแพงๆ ในภายหลัง”
      
        ในฐานะที่ผมเคยติดตามเรื่องพลังงานมาตั้งแต่โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซียเมื่อสิบปีกว่าที่แล้วทำให้ผมพอจำได้ว่า ข้อมูลที่ผมได้รับการบอกเล่านี้เป็นความจริง และเพื่อความเข้าใจที่เป็นระบบผมจึงได้สืบค้นข้อมูลทั้งเก่าและใหม่พร้อมทั้งได้วิเคราะห์เพิ่มเติม (แต่ก็ยังไม่ครบถ้วนเพราะ ปตท.ไม่เปิดเผย) ดังต่อไปนี้
      
        หนึ่ง ก่อนที่เศรษฐกิจฟองสบู่จะแตกในปี 2540 ประเทศไทยโดย ปตท. (ตอนนั้นยังไม่ได้แปรรูป) ได้ทำสัญญาซื้อขายก๊าซกับประเทศพม่าไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อฟองสบู่แตกทำให้ความจำเป็นในการใช้พลังงานลดลงมาก ส่งผลให้ฝ่ายไทยต้องเสียค่า “ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย (take-or-pay)” เป็นจำนวนมาก เพียง 50 เดือนแรกที่สัญญามีผลบังคับใช้ (1 ก.ค. 2541 ถึง 30 กันยายน 2545) คิดเป็นเงินถึง 35,450 ล้านบาท ถ้าคิดเป็นปริมาณก๊าซที่ได้ใช้จริงก็แค่เพียง 44% ของปริมาณที่ได้ทำสัญญาไว้ ที่เหลืออีก 56% เราต้องจ่ายเงินแต่ยังไม่ได้รับก๊าซ แม้จะได้รับก๊าซฟรีในภายหลังแต่ก็เสียโอกาส
      
        นอกจากนี้โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซียที่ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะใช้ก๊าซฯ แต่ก็ได้ทำโครงการตามความต้องการของประเทศมาเลเซีย ส่งผลให้ในเวลาต่อมาฝ่ายไทยต้องเสียค่า “ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย” อีกกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท ผมเข้าใจว่า เนื่องจากการวางแผนที่ผิดพลาดดังกล่าว ทาง ปตท.จึงพยายามส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซเอ็นจีวี โดยเฉพาะในหมู่รถแท็กซี่ ทั้งๆ ที่สถานีบริการยังมีไม่มากพอ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ปตท.ก็นำเงินจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานซึ่งเก็บมาจากผู้ใช้น้ำมันมาใช้ คิดเป็นเงินก็ประมาณคันละ 4 หมื่นบาท
      
        ในปี 2553 รถที่เติมเอ็นจีวีทั้งหมด 2.68 แสนคัน แต่มีสถานี 444 ปั๊ม ถ้าเปิดวันละ 15 ชั่วโมง และแต่ละคันเติมวันเว้นวัน พบว่าแต่ละชั่วโมงต้องเติมให้ได้ 20 คัน ทันไหม?
      
        อนึ่ง ก๊าซเอ็นจีวีก็คือก๊าซธรรมชาติที่ผ่านโรงแยกก๊าซแล้ว จากนั้นก็ผ่านกระบวนการอัดให้มีปริมาตรน้อยกว่า 1% ของปริมาตรเดิม แต่ ปตท.ไม่ยอมเปิดเผยต้นทุนเนื้อก๊าซ รวมทั้งต้นทุนการผลิตให้ละเอียดเป็นขั้นตอน แต่กลับบอกคร่าวๆ ที่ 8.39 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแย้งว่าน่าจะเป็น 4 บากกว่าๆ
      
        สอง เอกสารของกระทรวงพลังงานเมื่อปี 2545 ได้ให้ข้อมูล (โดยบังเอิญ ดูภาพประกอบ ฉบับเต็มอ่านจาก http://www.eppo.go.th/admin/nlt/nlt-2546-01.pdf ) ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณแล้วพบว่า ราคาก๊าซในอ่าวไทยราคาลูกบาศก์ฟุตละ 10.25 สตางค์ ในขณะที่ก๊าซจากประเทศพม่าอยู่ที่ 16.05 บาท เข้าใจว่ารวมค่าผ่านท่อแล้ว
      
        ข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพลังงานที่มาชี้แจงต่อกรรมาธิการชุดคุณรสนา โตสิตระกูล เรียบร้อยแล้ว แต่คำถามคือ ทำไม? คำตอบน่าจะเป็นเพราะต้องการเลี่ยงค่าภาคหลวงซึ่งไทยเก็บในอัตราที่ต่ำที่สุดในโลกให้ต่ำลงไปอีกนั่นเอง

 
 
 
 



ผู้ตั้งกระทู้ toykrub :: วันที่ลงประกาศ 2012-01-30 12:40:41 IP : 124.122.108.211


1

ความคิดเห็นที่ 6 (3325394)
avatar
Non Wacharakiat

เห็นด้วยกับคุณ ต.ตุ้ยครับ.... ที่จริงทุกเรื่องถ้าเราหลอกตัวเองก็ไม่เกิดปัญหาหรอกครับ มาอุ้มราคาก๊าซ แล้วให้คนใช้น้ำมันต้องรับภาระ ปล่อยไปตามกลไกตลาด ความเป็นจริง ถ้าดีเซลแพงกว่าก็ปล่อยไปตามจริง (โดยเฉพาะช่วงหน้าหนาวที่มีความต้องการมากในต่างประเทศ) พฤติกรรมผู้บริโภคก็จะปรับเปลี่ยนไปเองครับ อย่างราคาต่อลิตรของแอลกอฮอล์ก็สูงกว่าเบ็นซิน ไปๆ มาๆ ก็งูกินหาง ก็เหมือนข้าวสารล่ะครับ ใครชอบกินข้าวหอมก็จ่ายแพง ชอบข้าวขาวธรรมดาก็จ่ายถูกกว่า หรือถ้าเม็ดหักก็ยิ่งถูกเข้าไปอีก...

ผู้แสดงความคิดเห็น Non Wacharakiat (nonwpresley-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-02-06 16:42:16 IP : 202.136.166.37


ความคิดเห็นที่ 5 (3324669)
avatar
.....

ในกรุงเทพมันไม่ได้แยกหัวจ่ายมันให้เติมรวมกันจริง ผมเลยบอกว่ารถบ้านจ่ายแพงกว่าแต่ต้องมานั่งต่อคิวกับแท๊กซี่ซึ่งยาวออกมาล้นปั้ม

แต่ปั้มที่ผมบอกว่าแยกเป็นปั้มตรงอ่างทองครับ 8 หัวจ่ายมันให้รถตู้ 4 หัวจ่ายมันให้รถบ้าน (รถบ้านจ่ายแพงกว่าแถวยาว)

***ใครใช้มากก็ควรจ่ายมาก ประกันยังมีคิดตามระยะทางการใช้รถ ออกเป็นระบบจีพีเอสต่อภาษีไปเลย ถึงปีก็เอาจีพีเอสนี้ไปเสียภาษีคำนวนระยะทางแล้วคิดกันเป็นกิโลไปเลยคนไทยเก่งทำได้อยู่แล้ว ข้อดีอีกอย่างติดตามรถหายได้ คันไหนขาดต่อภาษีก็เช็คง่าย คันไหนขับความเร็วเกินก็เช็คได้ ไม่ต้องมาให้ตำรวจคอยนั่งจับ เอาเวลาไปจับโจรดีกว่า 

ถ้าราคาแก๊สทุกชนิดขึ้นไปแตะ 20 บาท ก็ไม่น่าใช้แล้ว เทียบกับน้ำมันราคา 30 กว่าบาท เพราะรถใช้แก๊สค่าซ่อมบำรุงและความเสื่อมโทรมมีมากกว่าใช้น้ำมัน

ผู้แสดงความคิดเห็น ..... วันที่ตอบ 2012-01-31 09:16:07 IP : 161.200.100.2


ความคิดเห็นที่ 4 (3324654)
avatar
ต.ตุ้ย

คนไทยในประเทศถูกบิดเบือนค่าน้ำมัน+เชื้อเพลิงมานมนานมากแล้ว   โน่น..โชติช่วงชัชวาลย์..จำได้มั้ย ? แต่ค่าคองชีพ ฯลฯ ไม่รองรับราคาตลาดโลก จึงเกิดอาการ..แย่  และ เป็นการทำงานหาเสียง..ไง   ต้องยอมรับความจริงกันบ้างและอดทนต่อไป  โชคดีครับ...

ผู้แสดงความคิดเห็น ต.ตุ้ย วันที่ตอบ 2012-01-31 07:51:57 IP : 58.11.236.2


ความคิดเห็นที่ 3 (3324635)
avatar
ชาว CK

ตามที่ผมเข้าแถวเติมก็ไม่ได้แบ่งรถแท็กซี่กับรถบ้าน จะเห็นแบ่งแถวก็รถใหญ่อย่างรถบรรทุก รถโดยสาร อีกแถวก็เป็นรถตู้ รถแท็กซี่ รถบ้าน

ถึงแม้ค่าแก๊สจะขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงเพดานยังไงก็ไม่เท่าน้ำมัน  อย่างตอนนี้ราคา NGV  9.00 บาท,  LPG 12.13 บาท, แก๊สโซฮอล 95  37.76 บาท ดีเซล 31.13 บาท (ถ้ากลับมาเก็บภาษีเท่าเดิม ราคาดีเซลจะต้องเพิ่มอีก 5 บาท/ลิตร)  ต่างประเทศราคาดีเซลจะแพงกว่าเบนซิน แม้ในไทยราคาหน้าโรงกลั่นราคาดีเซลก็แพงกว่าเบนซินอยู่เล็กน้อย  ปตท.ก็คงเหมือนพ่อค้าทั่วๆไปที่คิดว่าหากขายของอันใหนแล้วไม่มีกำไรคงไม่นำมาขาย

ผู้แสดงความคิดเห็น ชาว CK วันที่ตอบ 2012-01-30 17:23:14 IP : 115.31.161.229


ความคิดเห็นที่ 2 (3324622)
avatar
ลูกบอล

จริง ๆ เค้าก็ไม่ได้บังคับ นะครับ ว่า Taxi ต้องใช้ NGV   เพียงแต่ มันโปรโมชั่น เยอะจัด เปลี่ยนให้ฟรี  รัฐบาลช่วยออกครึ่งนึง  ค่าแก๊สถูกกว่า LPG  ต่าง ๆ นานา

 

สุดท้ายถึงลอยตัว NGV ค่าแก๊ส มันก็ถูกว่า LPG และ น้ำมันอยู่ดี  อย่าไปเครียดเลย ทำไรมะได้ เง้อ   ปตท ของใคร  พลังงานเพื่อใคร

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกบอล วันที่ตอบ 2012-01-30 16:25:18 IP : 58.11.112.43


ความคิดเห็นที่ 1 (3324621)
avatar
.....

โกงกันทั้งนั้น ย้อนไปใครเป็นรัฐบาลสมัยนั้น แย่งชิงอำนาจ เข่นฆ่ากันเพื่ออะไร แค่เงินเดือนๆ ละ 1 แสนเนี่ยนะ

แท๊กซี่ก็กับรถตู้ออกต่างและในกรุงเทพก็เอาเปรียบรถบ้าน จ่ายเท่าเดิม 8.50 แล้วไม่ต้องรอคิวนาน รถบ้านจ่ายแพงกว่าแต่ต้องมาเข้าคิวเท่ากับแท๊กซี่

ยกตัวอย่างเช่นปั้มเอ็นจีวีอางทองอ่างทอง  เปิดให้รถบ้านเติมแค่ 4 หัว พวกรถตู้ 8 หัวจ่าย รถบ้านคิวยาว รถตู้คิวว่างแต่ปั้มมันกั้นไม่ให้รถบ้านเข้าไปเติม ผมถามว่าอย่างนี้มันทำถูกไหมครับ

** บอกว่าจะขึ้นเพื่อพัฒนา ไอ้คนที่ใช้เยอะเผาก๊าซทิ้งกับวิ่งถูกเท่าเดิมค่าโดยสารก็แพงขึ้นๆ รถตู้ก็ค่าโดยสารคนละ 100 บาท 1 เที่ยวไปอย่างเดียวก็ 1500 บาท ต้นทุรก๊าซ ตีไปเต็มที่ 150 บาท ที่เหลือหักแบบ***ๆเลย ทั้งค่าเสื่อมรถรวมก๊าซ 500 บาท เป็น 1 เที่ยวได้กำไร 1 พันบาท

**ทำอย่างนี้ไม่ถูกใครใช้เยอะก็เก็บเยอะ เก็บเหมือนค่า FT  ไฟฟ้าไปครับ คนได้เงินมากยังเสียภาษีมากเลยครับ(แต่ก็มีพวกหลบภาษี) ทำแบบนี้ต่อให้มีพลังงานมากมายแค่ไหนก็ไม่มีวันพอหรอกครับ  ไม่เห็นมีใครประท้วงเรื่องค่า FT เลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ..... วันที่ตอบ 2012-01-30 16:21:20 IP : 161.200.100.2



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.