ลองอ่านดูครับ>>มารยาทในการขับรถที่คนไทย...ไม่ทำ
avatar
toykrub888@yahoo.com


การเดินทางด้วยรถยนต์บนถนนสาธารณะ นอกจากกฎหมายราชการแล้ว ยังควรมีมารยาท และความเอื้ออาทรต่อกัน เพื่อให้มีทั้งความราบรื่นและความปลอดภัย ในการเดินทางอยู่เสมอ ผู้ขับรถยนต์ไทย กับมารยาทในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน ยังไม่มีมากนัก หากไม่หันมารณรงค์ร่วมกัน การรักษามารยาท ก็คงจะถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง วิธีและมารยาทในการปฏิบัติต่อไปนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

 กะพริบไฟสูงขอทางหรือเตือน อาจสับสน
       
       บางเรียกศัพท์สแลงกันว่า ดิฟไฟสูง คนไทยมักใช้เตือน เพื่อไม่ให้รถยนต์ทางโทตัดเข้ามาทางเอกหรือทางตรง ในขณะที่บางประเทศใช้การกะพริบไฟสูงเมื่ออยากให้ทาง เพราะแสดงว่า เห็นแล้วและยอมให้ทางขณะที่คนไทยส่วนใหญ่ใช้เพื่อบอกว่า เห็นแล้วว่ามีรถยนต์กำลังจะตัดทางเข้ามา แต่ไม่ให้เข้ามา ในกรณีนี้กฎหมายไทย ไม่มีการกำหนดว่า ให้ใช้การกะพริบไฟสูง เพื่อจุดประสงค์ใด อาจเพราะไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นสากลได้ จึงยังพอใช้กันในสไตล์ไทย ๆ ได้ แต่ก็มีผู้ที่ใช้เพื่อต้องการให้ทางอยู่บ้าง ซึ่งน่าจะเหมาะสมกว่า เพราะต้องเห็นก่อนจึงจะสามารถกะพริบไฟบอกได้ ก็คงต้องปล่อยวางและใช้กันไปตามกระแส

จอดในพื้นที่ห้ามจอด-เปิดไฟฉุกเฉิน
       
       ถือเป็นการเอาเปรียบสังคมอย่างหนึ่ง แม้จะเป็นการจอดชั่วคราวก็ตาม เพราะการเปิดไฟฉุกเฉิน เพื่อแสดงว่าจอด แต่ถ้าไม่ใช่เวลาและและพื้นที่ซึ่งควรจอดก็ไม่ควรปฏิบัติ อีกทั้งยังผิดกฎจราจรอีกด้วย การเปิดไฟฉุกเฉินจอดในพื้นที่ห้ามจอด ไม่สามารถป้องกันการออกใบสั่งได้

   ก้มศีรษะขอบคุณ ลืมไปแล้วหรือ ?
       
       3-4 ปีที่ผ่านมา ผู้ขับมีการก้มหัวขอบคุณเมื่อได้รับการให้ทาง แต่ในระยะหลังมานี้เริ่มมีการถดถอยหรือหลงลืมกันไปบ้าง อาจะเป็นเพราะการรักษาศักดิ์ศรีโดยไม่จำเป็น เช่น ผู้ขับรถยนต์ระดับหรูราคาแพง มักไม่ยอมขอบคุณผู้ขับรถยนต์ราคาถูกที่ยอมให้ทาง หรือผู้ชายมักไม่ยอมขอบคุณผู้หญิง ฯลฯ นับเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมมาก เมื่อมีการขอบคุณให้หลังจากได้รับการให้ทาง

    เบรก ต้องสนใจรถยนต์ที่ตามด้วย
       
       ไม่ใช่แค่รักษามารยาท แต่เป็นการเพิ่มความปลอดภัยกันด้วย ถ้าต้องมีการเบรก ผู้ขับส่วนใหญ่จะมองแค่เป็นการลดความเร็ว เมื่อมีสิ่งกีดขวางด้านหน้า โดยไม่ค่อยสนใจมารยาทและความปลอดภัยของผู้ขับรถยนต์คันที่ตามมา หากมีเวลาพอ ก่อนการเบรกควรเหลือบมองกระจกหลัง และเพื่อจะได้ตัดสินใจกดแป้นเบรกด้วยจังหวะและน้ำหนักที่เหมาะสม

   ข้าม 4 แยก / 3 แยก ตรงไป ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉิน
       
       ถ้าจะขับรถยนต์แล้วต้องการข้าม 4 แยก หรือ 3 แยกแนวตรงแล้วต้องการตรงไป การเปิดไฟฉุกเฉิน-กะพริบ 4 มุม เป็นวิธีที่ผิดและอันตราย สาเหตุที่ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉินในกรณีนี้ เพราะผู้ขับรถยนต์ที่มาด้านซ้าย-ขวา อาจเห็นเพียงไฟกะพริบด้านหน้ามุมเดียว เสมือนเป็นการเปิดไฟเลี้ยว โดยไม่ทราบเลยว่า เป็นการเปิดไฟฉุกเฉินกะพริบพร้อมกัน 4 มุมซ้าย-ขวา หากสมมุติเหตุการณ์ขึ้นจะพบว่า ไฟเลี้ยวด้านหน้า แม้จะกะพริบพร้อมกันซ้าย-ขวา แต่ผู้ขับรถยนต์คันที่มาจากด้านข้างในแต่ละด้าน ก็ยังอาจเห็นไฟหะพริบเพียงมุมเดียว โดยเฉพาะผู้ที่ขับรถยนต์มาจากด้านซ้าย ก็อาจจะไม่ชะลอความเร็วลงหรือไม่ให้ทาง ด้วยคิดว่ารถยนต์คันที่เปิดไฟฉุกเฉินจะเลี้ยวซ้าย โดยไม่เกี่ยวกับเขา

   สปอตไลท์/ไฟตัดหมอก ควรเปิดเมื่อไม่รบกวนคนอื่น
       
       ไฟส่องสว่างนี้มีทั้งติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานและติดตังเพิ่มเอง ตำแหน่งอยู่ตรงด้านล่างของกันชนหน้า 2 ดวงต่อรถยนต์ 1 คัน รถยนต์บางรุ่นติดตั้งให้ใช้เป็นไฟตัดหมอก ซึ่งก็ควรใช้เมื่อมีหมอกตามชื่อเรียก แต่ทุกวันนี้ผู้ขับขี่บางคนกลับเปิดใช้ในขณะที่เส้นทางไม่มืดมาก ซึ่งไม่จำเป็นเลยเพราะแสงสว่างที่แรงนั้น อาจแยงสายตาทั้งผู้ขับรถยนต์คันที่สวนมาและคันที่นำหน้าในเส้นทางปกติ ไม่ควรเปิดใช้งานเพราะสว่างอยู่คนเดียว แต่ทำให้คนอื่นตาพร่ามัว

        ผู้ขับรถยนต์บางรายหนักข้อด้วยการเปิดเพียงไฟหรี่ แล้วเปิดสปอตไลท์เพิ่มความสว่าง นับเป็นการรบกวนสายตาของเพื่อนร่วมทางอย่างมาก สำหรับคำถามที่ว่า แล้วเมื่อมีปัญหาอย่างนี้ผู้ผลิตรถยนต์ติดตั้งสปอตไลท์มาเพื่ออะไร แล้วจะได้ใช้งานเมื่อไร เพราะกลัวไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายระบุในคู่มือว่า สปอตไลท์ควรเปิดเมื่อไม่รบกวนผู้อื่น จำเป็น หรือควรเปิดเมื่อหมอกลง และไม่ควรเปิดใช้ต่อเนื่องนาน ๆ เพราะจะร้อนเกินไปจนจานฉายอาจเสื่อมได้ง่าย การติดตั้งสปอตไลท์เพิ่มเติมเอง ถ้าไม่ถูกตำแหน่งหรือมีแสงแรงเกินกำหนด ก็ผิดกฎหมาย ทั้งมีการเปิดใช้และไม่เปิด จะไม่ผิดกฎหมายก็ต่อเมื่อติดตั้งถูกตำแหน่งมีฝาครอบปิด และไม่ได้เปิดใช้บนเส้นทางเรียบปกติ


เปลี่ยนเลน-แซง-ขึ้นทางตรงได้แล้ว ควรเร่งความเร็วเพิ่ม

       
       การเลี้ยวขึ้นทางตรงจากซอยหรือทางโท รวมถึงการเปลี่ยนเลน ควรกระทำเมื่อเส้นทางว่างพอ เมื่อเปลี่ยนเข้าสู่เลนที่ต้องการได้แล้ว บางคนไม่สนใจมารยาทต่อผู้ขับรถยนต์คันที่ตามมา เพราะคิดแต่เพียงว่า ถ้าถูกชนด้านท้ายแล้วจะไม่ผิด เนื่องจากเข้าสู่เส้นทางได้เต็มคันแล้ว ด้านมารยาท เมื่อเข้าสู่เส้นทางได้เต็มคันแล้ว ควรเร่งความเร็วมาก ๆ กดคันเร่งหนัก ๆ เพื่อไล่รถยนต์คันหน้าในระยะที่เหมาะสมให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องสนใจว่า รถยนต์คันหลังห่างแค่ไหน เพื่อมารยาท ผู้ขับรถยนต์คันหลังจะได้ไม่ต้องเบรกจนตัวโก่ง และไม่เสี่ยงต่อการเสียโฉมของบั้นท้ายรถยนต์ของตนเองด้วย
       
          ไฟเหลือง ควรเร่งหนีหรือเบรก ?
       
       หลักการที่ถูกต้องและเป็นสากลแต่ไม่ค่อยมีปฏิบัติกัน คือ ต้องเบรกและจอดเมื่อเห็นไฟเหลืองก่อนไฟแดง ผู้ขับรถยนต์ไทยส่วนใหญ่ เมื่อเห็นไฟเหลือง กลับกลายเป็นไฟเตือนให้เร่งหนีการติดไฟแดง ซึ่งไม่ถูกต้องนักเพราะการที่ไฟเหลืองสว่างขึ้นก่อนจังหวะไฟแดงตามหลักการจริงเป็นการเตือนเพื่อให้ชะลอความเร็วลงและจอด และควรเหลือบมองกระจกหลังไว้หน่อย เพื่อจะได้ตัดสินใจกดแป้นเบรกด้วยน้ำหนักและจังหวะที่เหมาะสม เพื่อมารยาท ผู้ขับรถยนต์คันหลังไม่ต้องเบรกจนตัวโก่งและไม่เสี่ยงต่อการเสียโฉมของบั้นท้าย รถยนต์ของตน

 
          ไฟเลี้ยว ต้องเปิด-ปิดอย่างเหมาะสม
       
       ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ถูกมองข้าม การเปิดไฟเลี้ยวเป็นเรื่องจำเป็น เพราะกฎหมายกำหนดให้มีการเตือนผู้ร่วมทางล่วงหน้าตามระยะที่เหมาะสม จึงควรเปิดไฟเลี้ยวเมื่อเตรียมเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยวล่วงหน้าพอสมควร และไม่ควรเปิดค้างจนลืม

       
          ชิดซ้ายเสมอ
       
       บนถนนหลายเลนมักมีการเตือนวา "ขับช้า ชิดซ้าย" ซึ่งไม่ค่อยตรงกับหลักการขับปลอดภัยและมารยาทในการใช้ถนน เพราะจะมีรถยนต์แล่นเลนขวาตลอด โดยคิดว่าความเร็วที่ใช้ในขณะนั้นถือว่าเร็วแล้ว ซึ่งอาจเป็นเพราะกฎหมายไทยกำหนดให้ใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อใช้ความเร็วเกินขึ้นไปแล้ว ก็มักจะคิดไปเองว่า เร็วพออยู่แล้ว จึงสามารถแล่นชิดขวาได้



http://variety.teenee.com/foodforbrain/29812.html



ผู้ตั้งกระทู้ toykrub888@yahoo.com :: วันที่ลงประกาศ 2010-10-01 18:48:05 IP : 124.120.250.244


1

ความคิดเห็นที่ 8 (3273396)
avatar
Non Wacharakiat

เห็นด้วยกับคุณ M(น่ารัก) ครับผม....แต่ขอเพิ่มเรื่องสำคัญอีกเรื่องคือการใช้สัญญาณไฟฉุกเฉินไม่ถูกต้อง

สัญญาณไฟฉุกเฉินมีไว้เพื่อกรณีฉุกเฉิน เช่น รถเสีย ขัดข้อง เตือนให้ผู้ที่ขับตามมาเห็นและหลบเลี่ยงไป แต่หลายๆ คนใช้สัญญาณไฟฉุกเฉินผิดๆ ดังนี้

- ใช้เมื่อขับผ่าน 4 แยกซึ่งอันตรายมากๆ เพราะรถที่มาจากทางด้านซ้ายหรือขวาจะเห็นสัญญาณไฟเพียงด้านเดียว คิดว่าจะเลี้ยวไปด้านนั้นๆ

- ใช้เมื่อฝนตกหนักหรือหมอกลงจัด...ทำให้เวลาเปลี่ยนช่องทางคนที่ขับตามมาจะไม่ทราบ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย...ถ้าทัศนวิสัยไม่ดี ควรชะลอความเร็วและชิดซ้าย (แต่ไม่ต้องถึงกับขอบทาง เพราะอันตรายเช่นกัน)

ผู้แสดงความคิดเห็น Non Wacharakiat (nonwpresley-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-16 16:17:03 IP : 202.136.166.37


ความคิดเห็นที่ 7 (3273374)
avatar
M(น่ารัก)

"...บางคันวิ่ง 90 กลับกินน้ำมันมากกว่าวิ่ง 100 เพราะอัตราทดเกียร์และเฟืองท้ายต่างกัน..."  รถผมล่ะครับคันนึง วิ่งต่ำกว่าร้อย เธอจะเชนจ์เกียร์สลับไปมาระหว่าง 4 กับ 5 เองตลอดทางเลย แล้วแต่ขึ้นหรือลงเนิน... แต่ถ้า 100 ขึ้นแล้ว แรงเฉื่อยมันพอที่จะคงไว้ที่เกียร์ 5 ตลอด(แต่ผิดกฏหมาย 555)

ขอบคุณน้า toy ครับ

เรื่องพวกนี้ ผมว่าลงเรื่อยๆ ก็ดี มือใหม่เดี๋ยวนี้เกิดใหม่ทุกวัน อย่างเรื่องไฟผ่าหมากเคยซาไปพักนึง เดี๋ยวนี้กลับมาใช้กันอีกแล้ว(สงสัยมือใหม่จริง)

ที่พี่ คห.4 ว่ามาผมเจอบ่อย แต่ไม่ใช่คนข้ามทาง แต่เป็นสี่แยกถนนแคบๆ ที่แซงกันไม่ได้ครับ เค้าทางตรง ผมมาทางที่ต้องเลี้ยวและจะไปทางเดียวกัน พอผมให้สัญญานเลี้ยว เค้าจะรีบเร่งความเร็วมาอย่างหน้าตั้งเพื่อมาให้ถึงก่อน ซึ่งผมก็ปล่อยทุกครั้งเพราะรถทางตรงย่อมได้ไปก่อน แต่พอนำหน้าเราแล้ว กลับลดความเร็วที่พุ่งมากลายเป็นเฉื่อยหวานเย็นขวางทางซะงั้น.... ลูกผมต้องเข้าไปแถวนะคร๊าบบบบ  ;-P

ถ้าขับช้าก็อย่าหวงทางเลยครับ ไม่ต้องพุ่งมาแย่งทางก็ได้ เห็นว่าคนเขามาเร็วก็ให้เขานำ แป็บเดียวเขาก็หายไปแล้ว ไม่ขวางท่านหรอก ไม่ต้องหาคนมาตามก้นหรอกครับ... แบบนี้แถวบ้านผมเจอบ่อยเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น M(น่ารัก) วันที่ตอบ 2010-11-16 13:53:54 IP : 202.12.97.116


ความคิดเห็นที่ 6 (3273316)
avatar
Non Wacharakiat

90 กม./ชม. สำหรับทางหลวง

120 กม./ชม. สำหรับทางพิเศษ เช่น มอเตอร์เวย์

แต่ที่แน่ๆ ถึงผมจะขับ 120-140 อยู่เลนขวา ถ้ามีคนขับเร็วกว่าผมก็หลบให้ครับ เพราะเราขับช้ากว่า

แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้แซงแล้วต้องชิดซ้าย เพียงแต่บอกให้รถช้ากว่า หรือประเภทรถบรรทุกชิดซ้าย ถ้าไม่มีรถ ผมก็จะขับขวาตลอด ยกเว้นเวลาเจอที่กลับรถ ผมก็จะชะลอและชิดซ้ายเพื่อให้เขาสามารถกลับรถมาได้

แต่บางครั้งทำตามกฏหมายก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น ไฟเหลืองแล้วให้หยุดรถ ท้ายจะโดนเสยเอาง่ายๆ ครับ....เข้าเมืองตาหลิ่วฯ

ปล. กฎหมายเรื่องการควบคุมความเร็วฉบับนี้ใช้มาตั้งกี่ปีแล้ว น่าจะเปลี่ยนซะทีครับ เป็น

- 110-120 สำหรับทางหลวง

- 120-140 สำหรับทางพิเศษ

- รถสมัยนี้สมรรถนะสูงกว่าเดิมมาก บางคันวิ่ง 90 กลับกินน้ำมันมากกว่าวิ่ง 100 เพราะอัตราทดเกียร์และเฟืองท้ายต่างกัน ส่วน "ไม่จำกัดความเร็ว" คงไม่เหมาะกับเมืองไทย เพราะสภาพถนนไม่อำนวยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Non Wacharakiat (nonwpresley-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-16 07:26:24 IP : 202.136.166.37


ความคิดเห็นที่ 5 (3273310)
avatar
จห

สรุปแล้วความเร็วกฎหมายกำหนดไม่เกิน 90 หรือ 120 กม./ชม.กันแน่ ป้องกันความสับสน

ผู้แสดงความคิดเห็น จห (kkk-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-16 01:32:13 IP : 125.26.20.254


ความคิดเห็นที่ 4 (3253996)
avatar
ผู้ใช้ถนน

มีมนุษย์อีก species หนึ่งที่ชอบเร่งความเร็วเข้าหาคนที่กำลังข้ามทางม้าลาย เพื่อเป็นการไล่ให้ข้ามไปให้พ้นเร็วๆ จะได้ไม่ต้องหยุดรถ อันนี้อันตรายมาก ผู้ที่กระทำเยี่ยงนี้ควรสำนึกบ้างว่า อาจจะมีวันหนึงที่คุณปู่หรือคุณย่าของคุณเองที่ชราภาพ โดนคุกคามลักษณะนี้และไม่มีมีเรี่ยวแรงพอที่จะวิ่งให้พ้นรถคันที่เร่งเข้าหา อย่างนี้เรียกว่ามารยาททราม

อีกตัวอย่างหนึ่ง (อันนี้ไม่เกี่ยวกับมารยาท) คือว่ามีผู้ขับแท็กซี่ชอบไปจอดรถข้างทางมอเตอร์เวย์ แล้วยืนฉี่ตรงที่เป็นทางผ่านหลักของชาวต่างประเทศผู้เดินทางมาเยือนสยามเมืองยิ้ม มีทุกวันทุกเช้า ใครไม่เชื่อก็ลองขับผ่านไปดู น่าเกลียดมากๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้ใช้ถนน วันที่ตอบ 2010-10-05 16:35:25 IP : 203.121.167.241


ความคิดเห็นที่ 3 (3253834)
avatar
ลูกบอล

ขับ 80 หมาตัดหน้า ยังเอาไม่อยู่เลยครับพี่น้อง  อิอิ  งิ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกบอล วันที่ตอบ 2010-10-04 12:18:51 IP : 58.97.35.116


ความคิดเห็นที่ 2 (3253821)
avatar
.....

กฎหมายให้แค่ 120 ผมก็ว่ามันช้าไปแต่ประหยัดดี น่าจะขับให้สัก 130-140 ไม่อันตรายมาก เกินนี้ไม่ว่ารถอะไร ก็เอาไม่อยู่ ถ้ามีอะไรตัดหน้าขึ้นมา แค่ขับช้าแล้วไม่แช่ขวาก้พอแล้วครับ มันต้องปลูกจิตสำนักครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ..... วันที่ตอบ 2010-10-04 11:48:07 IP : 161.200.105.43


ความคิดเห็นที่ 1 (3253491)
avatar
190 กิโลเมตร

กำหนดให้ใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อใช้ความเร็วเกินขึ้นไปแล้ว ก็มักจะคิดไปเองว่า เร็วพออยู่แล้ว จึงสามารถแล่นชิดขวาได้

ผู้แสดงความคิดเห็น 190 กิโลเมตร วันที่ตอบ 2010-10-01 21:33:31 IP : 180.180.214.41



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.