ขอความกระจ่างกันชนหน้าปิกอัพ
avatar
123


ผมได้ไปดูกระบะที่ออกมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็น F M C I มีสิ่งหนึ่งที่รู้สึกสงสัย คือ กันชนหน้าของทุกค่ายจะเป็นไฟเบอร์ทั้งหมด และหลังกันชนจะเป็นอินเตอร์ฯ คอยด์ร้อน และหม้อน้ำ ซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น ที่นี้ผมลองนึกภาพดูเล่นๆ ถ้าเกิดมันไปชนกับอะไรขึ้นมา แค่ความเร็วไม่เกิน 90 ผมว่ามันคงบี้ไปถึงห้องเครื่องแน่ๆ เมื่อกลับมาคิดเหมือนว่ามันไม่ใช่กันชนแล้ว เป็นแค่อะไรที่ปิดรถไว้เพื่อความสวยงาม
   อยากฟังมุมมองของน้าๆ ทั้งหลายครับ ว่าคิดเห็นกันอย่างไร



ผู้ตั้งกระทู้ 123 :: วันที่ลงประกาศ 2012-09-05 08:59:04 IP : 113.53.255.122


1

ความคิดเห็นที่ 8 (3344198)
avatar
ลูกบอล

แตกต่างกันครับ คุณสมบัติของไฟเบอร์ กับพลาสติกไม่เหมือนกัน

ข้อดีของไฟเบอร์กลาส
1. แข็งแรงกว่า ABS รับแรงสั่นสะเทือน กระแทกได้ดีกว่า
2. ราคาน่าจะถูกกว่า ทำแม่พิมพ์ง่ายกว่า

ข้อเสียของไฟเบอร์กลาส
1. ควบคุมความหนาให้สม่ำเสมอลำบาก ทำชิ้นงานบางมากไม่ได้ ดังนั้นชิ้นงานมักจะมีน้ำหนักมากกว่า ABS
2. ถ้าทำไม่ดีอาจจะเจอปัญหาฟองอากาศอยู่ภายในได้
3. งานจะเจอตำหนิได้ง่าย ตามขอบมุมมักจะไม่ค่อยเรียบร้อย


ข้อดีของ ABS
1. น้ำหนักเบากว่า fiber glass
2. มีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ดี เมื่อมีการชนหรือกระแทกจะไม่แตก แต่ fiber glass ชนสามารถแตกหักได้

ข้อเสีย
1. ราคาแพงกว่า fiber glass
2. การขึ้นรูปยากกว่า fiber glass

 

และถ้าคุณสังเกตุกันชน ABS ของโรงงานส่วนใหญ่ ชนแรง ๆ มันไม่แตก เต็มที่แค่ฉีก   คานกันชน มันไม่ได้มีไว้ป้องกันอินเตอร์ เพราะอินเตอร์มันเกาะอยู่บนคานกันชน  ส่วน ถ้าคุณกล้วมาก ขายรถ แล้วซื้อม้ามาขี่ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกบอล วันที่ตอบ 2012-09-06 16:27:47 IP : 58.8.17.92


ความคิดเห็นที่ 7 (3344189)
avatar
คนสวน

มันเป็นการลดต้นทุนการผลิต และช่วยในการลดน้ำหนักของตัวรถ เนื่องจากเหล็กเริ่มมีราคาแพงขึ้น ลดขั้นตอนการทำงานลง ถ้าเป็นเหล็กพอออกจากแท่นปั๊มต้องนำมาขัดแล้วค่อยพ่นสี ส่วนพลาสติกออกจากเครื่องฉีดมาปุ๊บนำไปพ่นสีได้เลยปั๊บ เหล็กหรือพลาติก ถ้าเกิดการกระแทกหรือชนอย่างแรงมันก็ไม่ได้ช่วยเซฟอะไรมากมาย เหล็กที่เอามาทำกันชนหน้าอย่างมากหนาไม่เกินมิลเผลอๆครึ่งมิลด้วยซ้ำ ข้อจำกัดของเหล็กก็คือเวลาปั๊มขึ้นรูปที่มันซับซ้อนมากๆมันทำได้ยาก ไม่เหมือนการฉีดขึ้นรูป คุณจะออกแบบให้มันมีหน้าตายังไงมันก็สามารถฉีดออกมาได้ตามนั้นเป๊ะ

รถทุกยี่ห้อจะทำคานเหล็กสำหรับกันกระแทกพวก อินเตอร์ หม้อน้ำเหมือนกันหมด ให้คุณกลับไปดูใหม่มันจะซ่อนอยู่ในใจ เอ๊ย! ตัวกันชนหน้าลองเอามือล้วงเข้าไปแล้วค่อยๆคลำดูจะเห็นเป็นเหล็กรูปตัว C กว้างประมาณ 80 มม ยาวเกือบๆเมตรวางกั้นอยู่หลังแผ่นป้ายทะเบียนครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คนสวน วันที่ตอบ 2012-09-06 14:33:02 IP : 223.206.31.235


ความคิดเห็นที่ 6 (3344116)
avatar
M(น่ารัก)

อ่านแล้วแอบไปดูรถตัวเอง
ฟอร์ดกระบะปี 09 เป็นกันชนพลาสติกขึ้นรูป
ซ่อนอยู่ข้างในคือคานเหล็ก หรือกันชนตัวจริง ไม่เล็กไม่ใหญ่ แต่ดูแล้วเซฟหม้อต่างๆ ภายในได้สบายครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น M(น่ารัก) วันที่ตอบ 2012-09-05 19:12:19 IP : 223.27.226.155


ความคิดเห็นที่ 5 (3344113)
avatar
คนคอน

 เคยใช้ วีโก้ เครื่อง 2.5 ก็ไม่เห็นมีคานอะไรมาบังนะ

 แต่เห็นของเพื่อน เครื่อง 3.0 มีคานหน้ากันชนอยู่

 

ผู้แสดงความคิดเห็น คนคอน วันที่ตอบ 2012-09-05 18:36:37 IP : 118.173.90.230


ความคิดเห็นที่ 4 (3344088)
avatar
navi

ใช่ครับ แม้แต่โลโก้เบนซ์ที่ปักบนฝากระโปรงบางประเทศที่เขาคำนึงถึงความปลอดภัยคนเดินถนนเขาจะไม่ให้ติดเอาไว้ครับ.........

ผู้แสดงความคิดเห็น navi วันที่ตอบ 2012-09-05 13:04:46 IP : 180.183.174.230


ความคิดเห็นที่ 3 (3344082)
avatar
สงคราม

 ผมว่าดีนะ  เวลาชนคนเดินถนนจะได้เจ็บน้อยลง  ปัจจุบัน การออกแบบรถ เขาจะป้องกัน ผู้โดยสาร  และผู้ขับขี่ และเด็ก รวมถึงคนเดินถนนด้วย ลองเข้าไปดูการทดสอบการชนในรุ่นใหม่ ๆ เขาจะบอกว่า คันนั้นป้องกันอะไรได้กี่ % ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สงคราม วันที่ตอบ 2012-09-05 11:50:46 IP : 125.25.57.168


ความคิดเห็นที่ 2 (3344077)
avatar
123

ประทานโทษนะครับ รบกวนคุณลูกบอลกลับไปดูกันชนกระบะall new นะครับ หลังกันชนมันเป็นอินเตอร์ฯ คอยด์ร้อน หม้อน้ำ ชนมา 3 อันนี้บี้ไปเลย (เปลี่ยนทีกระเป๋าแหก) ส่วนคานกันชนมันไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ป้องกัน 3 อย่างนี้ มันกันในส่วนของห้องเครื่องครับ
   ***พลาสติก กับไฟเบอร์ คุณสมบัติมันไม่ได้มีความแตกต่างกัน 

ผู้แสดงความคิดเห็น 123 วันที่ตอบ 2012-09-05 10:27:24 IP : 113.53.255.122


ความคิดเห็นที่ 1 (3344070)
avatar
ลูกบอล

กันชนหน้ารถจากโรงงาน แทบทุกยี่ห้อ เป็น พลาสติก ABS ครับ ไม่ใช่ไฟเบอร์  และกะบะส่วนใหญ่ มีคานกันชนแข็งครับ ไม่เข้าง่าย ๆ หรอก  ถ้าเป็นรถเก๋งดิ ใช่

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกบอล วันที่ตอบ 2012-09-05 10:13:02 IP : 58.11.112.109



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.