ท่านมีความเห็นอย่างไรกับข้อความ
avatar
navi


 วิธีการดูแลรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไบโอดีเซล 

ตามที่รัฐบาลได้ดำเนินโครงการด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก เพื่อลดการน้ำเข้าน้ำมันดิบที่ไทยเราเองต้องสูญเสียในการนำเข้าปีละหลายแสนล้านบาทนั้น 
ไบโอดีเซลเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนที่ใช้สำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งได้มีการดำเนินการมาโดยตลอดตั้งแต่ B2 B3 มาจนถึง B4 และบังคับใช้ B5 ทั่วประเทศเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา จนปัจจุบัน ได้เริ่มทดลองใช้ B 7 กับรถเครื่องยนต์ดีเซลในบ้านเราหลายยี่ห้อ และคงจะเริ่มบังคับใช้ในอนาคตอันใกล้ 
แต่เหรียญมี 2 ด้าน โดยเหตุที่ไบโอดีเซลที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลนั้น ส่วนใหญ่จะสกัดมาจากพืช โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม มากกว่าการสกัดจากพืชอื่นๆ สัตว์ หรือน้ำมันพืชใช้แล้ว และถ้าหากกระบวนการผลิตไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร จะเกิด 
1. คราบน้ำมันแขวนลอย 
เมื่อน้ำมันพืชได้รับความร้อน ตำแหน่งของไฮโดรเจนในโมเลกุลจะทำให้เกิดเป็นสภาพกรดได้ง่าย และเกิดเป็นกรดไขมันอิสระขึ้น กรดไขมันอิสระเป็นผลมาจากการทำน้ำมันให้ร้อน โดยจะลอยเป็นอิสระปะปนอยู่กับไตรกลีเซอไรด์ในน้ำมัน 
ความเป็นอิสระของกรดไขมันเหล่านี้ คือ การที่มันพร้อมที่จะเข้าทำปฏิกิริยาทุกเมื่อเมื่อเจอกับด่าง และนี่เองที่เป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้เกิด “ เยล ” (Jelly) ที่มีลักษณะเป็นเมือก 
ในการทำไบโอดีเซล จึงต้องกำจัดกรดไขมันอิสระเหล่านี้ออกจากน้ำมันก่อนทำปฏิกิริยา โดยการไทเทรต 

2. กลีเซอรีน (Glycerin) 
ในการผลิตไบโอดีเซลหลังจากที่ใส่สารเร่งปฏิกิริยา จะเกิดเห็นเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นของไบโอดีเซล ชั้นกลีเซอรีน และชั้นของไขสบู่ขาวขุ่น ซึ่งอาจทำให้ปนเปื้อนในไบโอดีเซลด้วย 
เมื่อตั้งทิ้งไว้ประมาณ ภายในหนึ่งชั่วโมงจะสังเกตเห็นปริมาณกลีเซอรีนตกออกมาเป็นส่วนของเหลวหนืดๆ สีเข้มอยู่ด้านล่าง จากนั้นแยกกลีเซอรีนออก กลีเซอรีนที่ได้อาจมีปริมาณตั้งแต่ 5-20% จึงควรล้างไบโอดีเซลด้วยน้ำสะอาดก่อนนำมาใช้ 
3. กรดไขมัน ( Fatty acid ) ในน้ำมันพืช (Oil) มี กรดไขมันหรือ Fatty acid ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ ที่มีกลุ่มคาร์บอกซิลิก (-COOH) เป็นองค์ประกอบหลัก เพียงแต่ต่างกันที่จำนวนของคาร์บอนในโมเลกุล ซึ่งหากขึ้นชื่อว่า กรดไขมัน จะต้องมีคาร์บอนมากกว่า 12 เป็นต้นไป กรดไขมันส่วนประกอบเล็กๆ ในน้ำมันพืช สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ได้ 2 ชนิด คือ 
1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acid : SFA) เป็นกรดไขมันที่คาร์บอนในโมเลกุลไม่สามารถมีไฮโดรเจนเข้าไปจับในโมเลกุลได้อีก แขนของคาร์บอนเป็นแขนเดี่ยว ไขมันชนิดนี้จะจับตัวแข็ง เมื่อถูกความเย็นเพียงเล็กน้อย ตัวอย่างของกรดไขมันอิ่มตัว เช่น กรดลอริก (lauric acid), กรดปาล์มมิติก (Palmitic acid), กรดสเตียริก (Steric acid) เป็นต้น 

..2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acid : UFA) เป็นกรดไขมันที่คาร์บอนในโมเลกุลมีไฮโดรเจนจับเกาะไม่เต็มที่ สามารถรับไฮโดรเจนเข้าไปจับโมเลกุลได้อีก พันธะหรือแขนของคาร์บอนนั้นมีทั้งพันธะเดี่ยวและพันธะคู่ ซึ่งจำนวนพันธะคู่ที่มีในโมเลกุลนี้เอง ทำให้แบ่งประเภทของกรดไขมันไม่อิ่มตัวออกได้อีก 2 ประเภท 
2.1 กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fatty Acid : MUFA) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่เพียง 1 ตำแหน่ง ไขมันชนิดนี้จะเป็นของเหลวไม่จับตัวแข็ง แม้อุณหภูมิจะเย็นลง 
ตัวอย่างของกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น กรดโอเลอิก (lauric acid), กรดปาล์มมิโตเลอิก (Palmitoleic acid) เป็นต้น 
2.2 กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fatty Acid : PUFA) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่มากกว่า1 ตำแหน่ง 
ตัวอย่างของกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น กรดโอเลอิก (lauric acid), กรดปาล์มมิโตเลอิก (Palmitoleic acid) เป็นต้น 
น้ำมันแต่ละประเภทต่างกันตรงกรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบนี่เอง ซึ่งในแต่ละน้ำมันจะมีทั้งกรดไขมันอิ่มตัว และกรดไขมันไม่อิ่มตัว แต่จะมีมากน้อยต่างกันเท่านั้น และนี่เองก็เป็นที่มาของการแบ่งประเภทของน้ำมัน 

ตารางแสดงปริมาณกรดไขมันในน้ำมันชนิดต่างๆ เป็นร้อยละ 
ชนิดของไขมัน กรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 
น้ำมันมะพร้าว 86 6 2 
น้ำมันปาล์ม 48 38 9 
น้ำมันฝ้าย 26 29 51 

จะเห็นได้ว่าน้ำมันปาล์มมีกรดไขมันอิ่มตัวสูงถึงร้อยละ 48 เป็นอันดับ 2 รองจากน้ำมันมะพร้าว โอกาสที่ไขจะจับตัวเป็นเมือก เป็น ก้อนแข็ง ในถังน้ำมันจึงมีสูง ดังนั้น ผู้ใช้รถยนต์เครื่องดีเซล จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลรถยนต์ของตนเองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลระบบคอมอนเรลที่ต้องการความบริสุทธิ์ของน้ำมันค่อนข้างสูง เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถใช้น้ำมันไบโอดีเซลได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยไม่เปลืองค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง เพราะคราบไขมันแขวนลอย เมือก และกลีเซอรีน ที่จับเกาะตามชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถทำงานได้สะดวก มีอาการ สะดุด สะอึก เร่งไม่ขึ้น รอบเดินเบาไม่มีแรง จนกระทั่งน็อคในที่สุด ถ้าอยู่ในระยะประกันก็ถือว่าโชคดี แต่ถ้าหลุดระยะประกัน ค่าใช้จ่ายก็หลัก 20,000 ขึ้นไป ดังนั้น การดูแลตามระยะทางโดยการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถควรรู้และปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด ในการใช้ไบโอดีเซล 
4. สิ่งสกปรก แขวนลอย คราบสนิม 
5. เชื้อรา ( Fungi ) เชื้อแบคทีเรีย ( Microbial ) เนื่องจากมีส่วนผสมของสิ่งที่สกัดจากพืช 
ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำมันบูด และชิ้นส่วนภายในสึกหรอ 

วิธีการดูแลวิธีการดูแลรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไบโอดีเซล 
1. เข้าศูนย์ล้างถังทุก 6 เดือน หรือ ทุก 10,000 กม. แต่วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูง ประมาณ 4,000 บาทขึ้นไปเสียเวลาอย่างน้อย ½ วัน ถึง 1 วัน เสียน้ำมันค้างถัง เพราะต้องถอดถัง ล้าง เป่า ทำความสะอาด แต่จะทำความสะอาด เพียงถังน้ำมันเท่านั้น ท่อทางเดินน้ำมัน จนถึงปลายหัวฉีด ไม่ได้ทำความสะอาด 
2. เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันดีเซล ทุก 20,000 กิโลเมตร จะปลอดภัยกว่าเปลี่ยนทุก 40,000 กิโลเมตร 
ตามที่ศูนย์กำหนด เพราะการเปลี่ยนทุก 40,000 กิโลเมตร เหมาะกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ไม่มีส่วนผสมของ 
ไบโอดีเซล ซึ่งปัจจุบันไม่มีจำหน่ายแล้วทุกหัวจ่ายตามนโยบายของรัฐบาล อย่าเสียดายค่าไส้กรองไม่กี่ร้อยบาท 
เพราะหากเกิดปัญหาค่าซ่อมจะบานปลายและเสียอารมณ์ด้วย 
3. ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและขจัดความชื้นในระบบเชื้อเพลิง เพียงแค่เติมลงในถังน้ำมัน ดูแลทุก 5,000 กิโลเมตร หรือ ทุก 3 เดือน ค่าใช้จ่ายประมาณ 500 บาท วิธีนี้ ประหยัดเงิน ประหยัดเวลาประหยัดค่าน้ำมันค้างถัง และยังสามารถทำความสะอาดระบบเผาไหม้ได้ทั้งระบบ โดยใช้กลไกการทำงานตามปกติของเครื่องยนต์ในการทำความสะอาดถังน้ำมันและระบบเชื้อเพลิงได้ทั้งระบบ และที่สำคัญ คือ เป็น Biocide ที่สามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียในน้ำมันได้ 
ข้อแนะนำ 
1. ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดระบบหัวฉีดธรรมดา 
เพราะไม่สามารถขจัดน้ำและสลายไขมันในน้ำมันไบโอดีเซลได้ เพราะจะทำความสะอาดได้แค่ระบบหัวฉีดเท่านั้น แต่น้ำมันในถังยังมีน้ำและไขมันอยู่ และไม่สามารขจัดเชื้อราและแบคทีเรียในน้ำมันไบโอดีเซลได้ 
จึงเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ 
2. อย่าใช้เครื่องที่แค่ทำความสะอาดระบบหัวฉีด ตอนบน แต่เพียงอย่างเดียว 
ท่านจะสิ้นเปลืองค่าใช่จ่ายโดยไม่คุ้มค่า เพราะเครื่องดังกล่าวจะทำความสะอาดได้แค่ระบบหัวฉีดตอนบนเท่านั้น ไม่ได้ทำความสะอาดทั้งระบบ สุดท้ายน้ำมันที่สกปรกที่อยู่ในถังก็เข้ามาในระบบเชื้อเพลิงและ ระบบเผาไหม้เหมือนเดิม เพราะไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ น้ำ หรือ ไขมัน ในถังน้ำมัน นั่นเอง 
แนะนำครับอย่าเติมน้ำมันเต็มถังตลอดให้เหลือน้ำมันในถังน้อยที่สุดโดยเฉพาะรถที่จอดทิ้งไว้นานๆหลายวันออกมาขับ 
 



ผู้ตั้งกระทู้ navi :: วันที่ลงประกาศ 2013-04-29 19:22:13 IP : 113.53.82.226


1

ความคิดเห็นที่ 8 (3365154)
avatar
navi

 คลับรถกระบะยี่ห้อหนึ่งครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น navi วันที่ตอบ 2013-05-03 09:41:17 IP : 119.42.86.80


ความคิดเห็นที่ 7 (3365071)
avatar
ชวลิต

 อยากรู้จัง ใครเป็นคนเขียน

ตอบหน่อยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชวลิต (peterc-at-tstplaspack-dot-com)วันที่ตอบ 2013-05-02 10:38:03 IP : 124.120.202.218


ความคิดเห็นที่ 6 (3364970)
avatar
คนว่างวันอาทิตย์ช่วยตอบ

เรียนตามตรงว่าผมให้ความสำคัญปัญหาอื่นมากกว่าตัวคุณภาพของน้ำมัน เพราะถ้าน้ำมัน B5 มีปัญหาตามที่บทความข้างต้นกล่าวอ้าง ป่านนี้คนแรกที่จะออกมาร้องคือบริษัทรถ เพราะน้ำมันที่จำหน่ายในประเทศไทยจะต้องถูกส่งไปให้วิศวกรในต่างประเทศที่นำรถเข้ามาจำหน่ายในบ้านเราทำการทดสอบคุณภาพเสียก่อนว่าจะผ่านมาตราฐานของทางบริษัทหรือไม่ ถ้าไม่ โรงกลั่นร่วมกับกรมธุรกิจพลังงานจะต้องแก้ไขให้ได้มาตราฐานเสียก่อนที่ยริษัทรถจะออกมายอมรับให้น้ำมันชนิดนั้นใช้ได้กับรถยนต์ที่เขาจำหน่าย และคงจะไม่มีบริษัทไหนจะออกมาปล่อยให้มีการจำหน่ายน้ำมันคุณภาพต่ำแล้วทำให้รถของเขามีปัญหา เพราะถ้ามีปัญหา บริษัทรถจะต้องเป็นผู้รับประกันและแก้ไขสินค้าของเขา ซึ่งคนที่เสียค่าใช้จ่ายก็คือบริษัทรถ ไม่ใช่บริษัทน้ำมันหรือภาครัฐ ดังนั้น คงจะไม่มีนักธุรกิจคนไหนต้องการที่จะฆ่าตัวตายเพื่อสนองความต้องการของบริาัทน้ำมันหรือภาครัฐอย่างแน่นอน

ปัญหาเรื่องน้ำมัน บี 5 ในบ้านเราที่ยังไม่เคยได้รับการแก้ไขจริงๆมีอยู่ 2 ข้อหลักๆคือ 1. ถ้งเก็บน้ำมันที่อยู่ตามปั๋มไม่ได้มาตราฐาน มีการรั่วไหลของสิ่งปลอมปนลงไปในถัง ตามปรกติจะมีหน่วยงานที่ดูแลตรวจสอบอยู่ 2 คนคือ บริษัทน้ำมันและกรมธุรกิจพลังงาน ซึ่งหน่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำมันของบริษัทน้ำมันและหน่วยตรวจสอบของกรมธุรกิจพลังงานกว่าจะวนไปตรวจสอบปั๋มแต่ละปั๋ม บางครั้งใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปี กว่าจะไปตรวจพบว่าเกิดถังรั่ว ก็ขายน้ำมันเหล่านั้นไปมากไม่รู้เท่าไรต่อเท่าไรแล้ว รถพังไปเป็นแถบๆ ในขณะที่ทางบริษัทกำหนดเอาไว้ว่าจะต้องหใ้เด็กปั๋มที่วัดปริมาณน้ำมันจากถัีงทุกเช้าคอยตรวจสอบคุณภาพน้ำมัน ถ้าพบว่ามีสิ่งแปลกปลอมให้แจ้งเจ้านาย ในความเป็นจริงกลายเป็นไปว่าเด็กปั๋มทั้งหลายไม่มีความรู้หรือความสนใจเลย แค่วัดรายงานปริมาณก็จบเท่านั้นพอ 2. ปัญหาที่เจ้าของปั๋มบางปั๋มที่หวังผลกำไรโดยการซื้อน้ำมันคุณภาพต่ำ (เถื่อนหรือไม่เถื่อน ไม่ขอพูดถึง) เอามาจำหน่ายให้รถ ซึ่งน้ำมันเหล่านี้คุณภาพต่ำมากๆ ซัลเฟอร์ก็สูง รถมาตราฐานยูโร 4 หรือ จะเป็นยูโร 5 ในปลายปีนี้ใช้ไปก็มีแต่พังกับพัง 

ในบทความ บอกว่าควรจะเปลี่ยนไส้กรองบ่อยๆอย่างน้อยทุกๆ 20,000 กม. ซึ่งผมเห็นด้วยเพราะถ้าเราเจอปัญหาน้ำมันปลอมปนจากสิ่งสกปรกและน้ำมันเถื่อนคุณภาพต่ำ ควรที่จะเปลี่ยนไว้กรองถึ่ขึ้น เพราะค่าไส้กรองราคาถูกกว่าการซ่อมปั๋มหรือเปลี่ยนหัวฉีดเป็นไหนๆ เรื่องสารล้างหัวฉีด ผมก็เคยพูดเอาไว้แล้วว่ามันกัดจริงๆ ไม่ใช่ไม่กัด ใช้บ่อยๆ มันจะกัดจนทุกอย่างที่น้ำมันเดินผ่านพังได้ ผมแนะนำเอาไว้ว่าไปหาเติมเชลล์ วีพาวเวอร์ เดือนละ 1 ถัง เท่านั้นก็ช่วยล้างหัวฉีดและขจัดคราบในระบบน้ำมันรวมทั้งความสกปรกในถังได้เกือบหมดแล้ว ดังนั้น เมื่อคุณได้เจอบทความประเภทนี้ ศึกษาและหาข้อมูลที่ถูกต้องเสียก่อน ก่อนที่จะเชื่อ เพราะการที่เราจะกลับไปใช้ดีเซลแบบเพียวๆเหมื่อนสมัยก่อนหรือเบนซินที่ไม่ใช่แก๊สโซฮอลนั้น มันเป็นไปไม่ได้เพราะปัยหาด้านพลังงานมีแต่เพ่ิมขึ้นและน้ำมันที่มีอยู่บนโลกนั้นก็มีจำนวนลดลงทุกวัน เราจะหลีกเลี่ยลพลังงานทดแทนไม่ได้อีกต่อไป จริงอยู่ที่นักการเมืองไทยเป็นเจ้าของโรงงานผลิตพลังงานทดแทน แต่จะไปใช้เหตุผลนั้นเพียงอย่างเดียวเพื่อจะกลับไปผลาญพลังงานหลักของเราก็คงจะไม่ถูกต้องนัก ทางที่ดีที่สุด ถ้าคุณไม่ต้องการให้นักการเมืองรวยเร็ว คุณก็ใช้น้อยลง เขาก็ได้เงินคุณยากขึ้นเท่านั้นเอง เพราะจะหันไปใช้อย่างอื่น เขาก็เป็นเจ้าของแล้วเช่นกัน ยกเว้นจะขี่ควายหรือขี่ช้างไปทำงานกันเท่านั้นแหละครับ      

ผู้แสดงความคิดเห็น คนว่างวันอาทิตย์ช่วยตอบ วันที่ตอบ 2013-05-01 07:16:54 IP : 171.99.188.154


ความคิดเห็นที่ 5 (3364964)
avatar
นัท

 น้ำมันเถื่อน มาเล ใส่เรือ ปะมง พอไหวครับ ใส่รถรุ่นใหม่ๆไม่ไหวจริงๆ  

ผู้แสดงความคิดเห็น นัท วันที่ตอบ 2013-05-01 03:40:50 IP : 118.173.68.230


ความคิดเห็นที่ 4 (3364956)
avatar
ชวลิต

 ไม่ทราบใคร หรือหน่วยงานไหน เป็นผู้เขียนบทความอันนี้ เป็นคำแนะนำที่ไม่สมเหตุสมผล และสร้างความเข้าใจผิดต่อ ไบโอดีเซล ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ดี สามารถทดแทนน้ำมันดีเซลได้ 100% การผลิตที่ผู้เขียนระบุว่าไม่ไ้ด้คุณภาพน่าจะเป็นชนิดไบโอดีเซลชุมชนมากกว่าการผลิตเชิงอุตสาหกรรมอย่าง ปตท.บางจาก ซึ่งมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของบริษัทรถยนต์เมืองไทยทุกยี่ห้อว่าใช้แล้วไม่มีปัญหาต่อเครื่องยนต์ แต่ที่ยังไม่มีจำหน่ายตอนนี้เพราะรัฐอ้างว่า น้ำมันปาล์มดิบ CPO ไม่เพียงพอต่อการบริโภค จริงหรอ?

ตอนนี้ไม่เห็นมีการประกาศชัดว่าจะนำ B5 กลับมาเมื่อไร อย่าได้หวัง B10 หรือ B20 เลยครับ คนวงในรู้เรื่องนี้ดีว่า เหตุไรมีการส่งเสริม E85 เต็มสูบ แต่ Biodiesel กลับถูกดองเค็มเอาไว้ด้วยข้ออ้างสารพัด Why?

ใครมีตังก์สัก 10 ล้านบาทบ้างครับ ผมมีเพื่อนที่กุมสุดยอดเทคโนโลยีผลิตไบโออีเซลคุณภาพดีกว่า ปตท.เอาไว้ ซึ่งท่านต้องการงบประมาณในการทำเครื่องจำลองชุดเล็ก ที่ีจำลองชุดใหญ่ที่ต้องลงทุนหลายร้อยล้านบาทในเชิงอุตสาหกรรม สนใจก็ส่งอีเมล์มาได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชวลิต (peterc-at-tstplaspack-dot-com)วันที่ตอบ 2013-04-30 19:53:43 IP : 125.24.191.186


ความคิดเห็นที่ 3 (3364954)
avatar
M(น่ารัก)

ความรู้น่าสนใจมากครับ
แต่พอสรุปเหมือนจะขายน้ำยาอ่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น M(น่ารัก) วันที่ตอบ 2013-04-30 19:29:19 IP : 122.154.128.194


ความคิดเห็นที่ 2 (3364949)
avatar
Non Wacharakiat

ผมว่าน่าจะเป็นอคติของผู้บริโภคบางท่านนะครับ หลักการอาจจะใช้กับการผลิตไบโอดีเซลใช้เองที่ไม่มีการควบคุมมาตรฐานที่แน่นอนซะมากกว่า ถ้าบริษัทน้ำมันผลิตออกมาไม่ได้มาตรฐานอย่างที่ว่าคงโดนบริษัทรถยนต์ฟ้องไปนานแล้วครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Non Wacharakiat (nonwpresley-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2013-04-30 16:50:42 IP : 202.136.166.37


ความคิดเห็นที่ 1 (3364914)
avatar
navi

ผมอ่านแล้วจึงอยากถามความคิดเห็นจากท่านผู้รู้ครับ ส่วนตัวผมว่ามันไม่น่าเลวร้ายถึงขนาดนั้น แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงเห็นทีต้องหันไปเติมน้ำมันเถื่อนจากมาเลดีกว่าแถวบ้านหาเติมง่าย

ผู้แสดงความคิดเห็น navi วันที่ตอบ 2013-04-30 11:01:21 IP : 113.53.56.48



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.