ห้ามจ่ายตังให้ตำรวจเป็นสินบน
avatar
toykrub


ต่อไปนี้ห้ามจ่ายตังให้ตำรวจเป็นสินบน ให้รับใบสั่งมาดีก่าน่ะ เพราะเขามีนโยบายว่าถ้าใครเอาตังให้ตำรวจตำรวจมีกล้องปากกาติดตัวทุกคนถ่ายไว้แบล็คเม ถ้าตำรวจคนไหนจับคนให้สินบนเรื่องใบสั่งได้ ตำรวจคนนั้นจะได้เงินรางวัล 10,000 บาททันที
ระหว่าง 100-200 บาท
ตำรวจเลือก10,000 จ๊าาา
ที่สำคัญเป็นคดียอมความไม่ได้ วันนี้ทั่วกรุงเทพโดนไปแล้วเจ็ดร้อยรายตำรวจรวยๆๆ รายละหมื่น อิอิ
เป็นนโยบาย คสช  http://www.thairath.co.th/content/455555  คลิกอ่านที่นี่ครับ


ผู้ตั้งกระทู้ toykrub :: วันที่ลงประกาศ 2014-10-09 08:50:27 IP : 171.101.31.245


1

ความคิดเห็นที่ 3 (3396066)
avatar
ขับ estate เก่าๆ

มันคิดได้สองแบบครับ ไม่มีใครผิด

โดยกฎหมายจริงๆแล้วตำรวจมี "หน้าที่" ในการไม่เรียกรับสินบน หรือรับสินบน ตามกฎหมายติดคุกสตาร์ทตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ตำรวรับ เรียกรับมันมีแส้อยู่แล้ว ถึงเวลาคุณยังให้รางวัลอีก ...... แสดงว่าระบบบังคับบัญชา การบังคับใช้กฎหมาย ล้มเหลวแม้กระทั่งตัวผู้ปฏิบัติงานเอง...... ไฉนจึงต้องเอาภาษีประชาชนไป "ตอบแทน" ตำรวจอีก??? 


      สินบนนำจับก็เช่นเดียวกัน ทำไมต้องแบ่งเงินที่ควรจะส่งเข้ารัฐ เป็นเงินค่าจ้างตำรวจให้ทำตามหน้าที่??? สุดท้ายวิธีการนี้ก็ได้ผลประหลาดเลยเถิดเป็นการตั้งเป้า ทำยอด เหมือนเซลล์ จนนายตำรวจท่านหนึ่งบอกว่า ต่อไปนี้เราจะไม่จับทำยอดกันแล้วนะ......


     ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว การป้องกันการทำผิดจะทำด้วยการสร้างต้นทุนที่มากกว่าการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ประเทศเราตำรวจ หรือประชาชน ไม่กลัวต้นทุนในการติดคุกเพราะให้สินบน นั่นหมายความไปต่อถึงว่า คนใช้กฎหมายมันแย่ ใช้เพื่อผลประโยชน์ตัวเอง คนทำผิดไม่ว่ามันมากเพราะมันต้องเอาหลุดทุกวิถีทางอยู่แล้ว (คือแย่อยู่แล้ว)

      สุดท้ายไม่รู้จะแก้อย่างไร เลยให้ตำรวจเลือกผลประโยชน์ที่ต้นทุนต่ำกว่า และผลตอบแทนสูงกว่า ซึ่งก็ไม่ได้ประหยัดงบประมาณประเทศชาติ และก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาถาวร ลองคิดดู บางข้อหาที่ค่าปรับมากกว่า 1 หมื่นบาท ตำรวจจะเลือกอะไร? หนึ่งหมื่น มากกว่าหนึ่งหมื่น หรือทั้งคู่?

     ทางที่ควรจะเป็นมันต้อง "ลดต้นทุน" ในการทำตามกฎหมาย "เพิ่มต้นทุน" ในการฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่ใช่ให้รางวัล
    

    เพิ่มต้นทุนทำได้โดย ให้ตำรวจก็ติดกล้องให้หมด และเปิดตลอดการปฏิบัติงาน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเอาผิดผู้ติดสินบน หรือ หลักฐานการกระทำผิดกฎจราจร ป้องกันตำรวจ ตั้งขอหาไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เรียกรับสินบน

    ลดต้นทุนโดยการจ่ายค่าปรับที่สะดวก และการคืนใบขับขี่ ที่รวดเร็ว โดนยึดใบขับขี่ที ขับไปจ่ายที่สภ.อีกเกือบร้อยโล แถมใบขับขี่ก็ไม่ค่อยจะคืน ตอนยึดบอกมีอำนาจ (ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายจริงๆ) แต่ตอนคืน บอกไม่มีหน้าที่ .........

   ที่ควรมีอีกอย่างคือศาลจราจรเพื่อพิสูจน์ข้ดเท็จจริงในการถ่วงดุลตำรวจ เราเห็นหลายๆคลิป ที่เจ้าของกล้องรอดจากเจ้าหน้าที่ที่ "ยัด" ข้อหาโดยปราศจากหลักฐาน เช่น จับรถเร็วโดยไม่มีเครื่องวัด  หรือ ผ่าไฟแดง ทั้งที่เขาเข้าไฟเขียว เรื่องพวกนี้จบที่โรงพัก คนส่วนใหญ่ก็จ่ายเงินค่าปรับ บนความไม่ยุติธรรม
   

     

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ขับ estate เก่าๆ วันที่ตอบ 2014-10-10 10:15:08 IP : 192.168.28.103


ความคิดเห็นที่ 2 (3396029)
avatar
ชาว CK

น่าจะเป็นการให้รางวัลจากผู้บังคับบัญชาในฐานะตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ปฏิบัติอย่างซื่อสัตย์ในหน้าที่ครับ เท่าที่ผมเคยเจอมาถ้ารู้ตัวว่าทำผิดกฎก็ลองเสนอไปก่อนครับว่าเสียค่าปรับตรงนี้ได้ใหม ถ้าตำรวจยอมรับก็จ่ายไป  แต่ถ้าตำรวจบางนายไม่รับก็ไม่ต้องตื้อเดี๋ยวจะโดนข้อหาเพิ่ม (อันนีก็เคยเจอกับตัวนายดาบท่านนั้นบอกว่า "ผมไม่มีอำนาจปรับ" จึงยอมเสียเวลาไปเสียค่าปรับที สน.  กรณีจ่ายค่าปรับตรงจุดที่โดนเรียกจับถ้ามีตำรวจร้อยเวรหรือพันเวรอยู่ด้วยก็จะเป็นการดีมากๆครับเพราะบางครั้งเราโดนจับต่างจังหวัดแล้วให้ไปเสียค่าปรับที่ สภ.ห่างออกไปอีก 30-50 กม. มันเสียเวลาเพราะต่างคนก็ต่างมีเป้าหมายจะไปข้างหน้าอยู่แล้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น ชาว CK วันที่ตอบ 2014-10-09 12:34:13 IP : 115.31.161.226


ความคิดเห็นที่ 1 (3396022)
avatar
ชาญชัย

คุณต้อย เข้าใจผิดแล้วครับ กรณีที่ติดสินบนเจ้าพนักงาน จร. แล้ว จร.จับแล้ว จนท.ได้ 10,000 ไม่ใช่ทุกรายครับอย่างนี้ลงข้อมูลไม่หมด ก็เสียหายสิครับ อย่างนี้ก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว วันนึงจับไม่กี่รายก็รวยสิ แถมได้มากกว่าเงินเดือนเสียอีก เข้าใจผิดแล้วครับ และ จนท.คงไม่ได้คิดแบบนั้นทุกคนหรอกครับ ส่วนมากก็จับหรือตักเตือนตามความเป็นจริง ส่วนน้อยที่จับโดยแอบอิงผลประโยชน์ แต่พอออกคลิบก็เป็นเรื่องใหญ่ ผมว่าต้องมองภาพพจน์ จนท.เสียใหม่ครับคนทำงานจะได้ไม่เสียกำลังใจ แต่เท่าที่เห็นส่วนมากคนทำผิดมักจะเสนอผลประโยชน์ให้ จนท.ก่อนเสมอ แล้วก็เอามาลงมาด่าเหมือนหมูเหมือนหมา 

ผู้แสดงความคิดเห็น ชาญชัย วันที่ตอบ 2014-10-09 09:26:54 IP : 58.137.194.130



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.