เก็บมาฝากครับ>> ยางรถ
avatar
Toykrub


เกร็ดความรู้: ทราบได้อย่างไรว่ายางรถยนต์ใหม่หรือเก่า
http://www.chaliang.com/new/Board-Detaile207.html?ID=01981

ยางรถใหม่เก็บไว้นาน ๆ ก็เสื่อมสภาพได้ เมื่อเปลี่ยนยางเส้นใหม่ทุกครั้ง...คุณแน่ใจหรือไม่ว่าไม่ใช่ 
ยางเก่าเก็บ แล้วเราจะมีวิธีดูอย่างไร พร้อมข้อสงสัยว่าจริงหรือที่ว่าดอกยางเป็นตัวทำให้รถเกาะถนน 
แล้วเมื่อไรที่เขาเรียกกันว่าดอกยางหมด... 

รหัสบนแก้มยางที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ หรือบางคนสนใจและพยายามจะทราบ แต่ไม่ค่อยมีใครอยากบอก 
คือ วันที่ยางเส้นนั้นผลิต 

เพราะผู้ขายหรือผู้ผลิต กลัวจะขายยางเก่าเก็บไม่ได้ แต่ผู้ผลิตก็ต้องระบุลงไป เพื่อไม่ให้ผิดกฏของหน่วย 
งานคุ้มครองผู้บริโภค เพียงแต่ถ้าไม่ถามก็จะไม่บอก 

ยางรถยนต์สามารถหมดสภาพได้ แม้เป็นยางใหม่ที่เก็บไว้เฉยๆ ก็เริ่มเสื่อมสภาพลงตั้งแต่ผลิตเสร็จ แล้ว 
ลดอายุการใช้งานลงเรื่อยๆ เมื่อเก็บไว้หลายปี 

แม้การเก็บยางอย่างถูกวิธีจะชะลอการหมดอายุลงได้ และไม่หมดอายุเร็วเท่ากับการใช้งานบนถนนจริง 
แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการซื้อยางเก่าเก็บ ซึ่งผู้ผลิตหลายรายบอกว่า 2-3 ปีก็ยังใช้ได้ แต่ในแง่ของผู้บริโภค 
แล้ว ยิ่งใหม่เท่าไรก็ยิ่งดี 

ถ้าเป็นยางนำเข้าหรือยางผลิตในประเทศ ที่มีทั้งการจำหน่ายในประเทศและการส่งออก จะมีตัวเลข 
3-4 หลักอยู่ในวงรี บอกสัปดาห์และเลขตัวท้ายๆ ของปี ค.ศ. ที่ผลิตยางเส้นนั้นไว้แบบลบไม่ได้ เพราะ 
เป็นเนื้อยางที่อยู่บนแก้มยาง หล่อออกมาจากแม่พิมพ์เลย และเป็นมาตรฐานเดียวกันที่ใช้ทั่วโลก 

ตัวเลขนั้นอยู่ในวงรีแนวโค้งเดียวกับแก้มยาง อาจอยู่ใกล้กับตัวอักษร DOT และอาจมีเพียงข้างเดียวใน 
ยาง 1 เส้น ยางรถยนต์ที่ผลิตก่อนปี 2000 จะเป็นเลข 3 หลัก เช่น 449 หรือ 328 โดยเลข 2 ตัว 
แรกบอกสัปดาห์ที่ผลิต และตัวเลขท้ายสุด คือ ตัวเลขสุดท้ายของปี ค.ศ. ที่ผลิต เช่น 127 ก็เป็นยางที่ 
ผลิตสัปดาห์ที่ 12 ของปี 1997 

พอมาถึงปี 2000 และตั้งแต่ปัจจุบันนี้เป็นต้นไป มีการเปลี่ยนมาเป็นเลข 4 หลัก เพื่อป้องกันความสับสน 
กับยางที่ผลิตก่อนปี 2000 และค้างสต็อกอยู่ 

ตัวอย่าง 1300, 3500, 4100 เลข 2 ตัวแรกบอกสัปดาห์ที่ผลิต และ 2 ตัวท้าย คือ เลข 2 ตัวสุด 
ท้ายของปี ค.ศ. ที่ผลิต เช่น 3600 เป็นยางที่ผลิตสัปดาห์ที่ 36 ของปี 2000 

ส่วนยางบางยี่ห้อที่ผลิตจำหน่ายเฉพาะในประเทศไทย เช่น บริดจสโตนบางรุ่น ในเนื้อยางบริเวณแก้มก็มี 
รหัสระบุถึงวันที่ผลิต แต่ไม่เหมือนกับข้างต้น เพราะเป็นรหัสเฉพาะ เช่น L0Y3A ต้องเปิดตารางเทียบ 
ซึ่งผู้ผลิตไม่เปิดเผย 

ในเมื่อผู้ซื้ออ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็เลยมีการทดแทนด้วยการปั๊มหมึกสีอ่อนไว้บนแก้มยาง เป็นรูปวงกลมขนาด 
เล็กแบ่งครึ่งบนล่าง ครึ่งบนบอกเดือน และปี พ.ศ. เช่น 11 43 ส่วนครึ่งล่างไม่ต้องสนใจ เพราะเป็น 
ตัวเลขรหัสประจำตัวของผู้ตรวจยางเส้นนั้น บางร้านพอยางเก่าเก็บ ก็จะลบหมึกวงกลมนี้ออก เพื่อไม่ให้ 
ทราบวันผลิตจริง ถ้าเจออย่างนั้น ควรหลีกเลี่ยง 

ถ้าเป็นยางนำเข้า หากยังไม่แกะออกจากห่อ ที่ตัวห่อหรือสติกเกอร์ที่ติดไว้ อาจมีรายละเอียดวันที--่ผลิต 
ระบุไว้ด้วย ถ้าหาที่แก้มยางไม่เจอ ให้ลองหาที่ตัวห่อก็อาจเจอ 

ด อ ก ย า ง ไ ม่ ไ ด้ มี ไ ว้ ใ ห้ เ ก า ะ แ ต่ มี ไ ว้ รี ด น้ำ 

ยังมีความเข้าใจผิดและพูดกันผิดๆ ต่อเนื่องกันในวงกว้าง ว่าดอกยางหรือยางที่มีร่องๆ เป็นลวดลาย มี 
ไว้ให้ยางเกาะถนน หรือถ้ายางดอกหมดแล้วจะลื่น ซึ่งตามหลักการจริงนั้น ผิด ! 

ตามความหมายของคนทั่วไป ยางที่ยังมีร่องอยู่บนหน้ายาง หมายถึง ยางมีดอก แต่ถ้าหน้ายางเรียบ ไม่มี 
ร่องบนหน้ายาง ทั้งจากการสึกหรอหรือยางสำหรับรถแข่งทางเรียบ หมายถึง ยางดอกหมด ยางหัวโล้น 
ยางโล้น หรือยางไม่มีดอก 

จริงๆ แล้วตัวแท่งๆ บนหน้ายาง เรียกว่า "ดอกยาง"ส่วนช่องว่างระหว่างดอกเรียกว่า "ร่องยาง" 

ประเด็นสำคัญที่บอกว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจผิด คือ การคิดว่ายางโล้น ยางไม่มีดอก ไม่เกาะถนน เพราะ 
การยึดเกาะของยางกับถนนเกิดจากหน้ายางที่กดแนบลงกับพื้น ยิ่งมีหน้าสัมผัสมาก ก็ยิ่งเกาะมากขึ้น ร่อง 
ยางซึ่งแทรกอยู่ระหว่างดอกยาง ก็มีแค่อากาศ ไม่ได้มีเนื้อยางกดลงบนพื้นแต่อย่างไร 

ดังนั้นถ้าหน้ายางมีความกว้างเท่ากัน ยางไม่มีดอก ไม่มีร่อง หรือยางหัวโล้น ย่อมมีพื้นที่สัมผัสถนนมากก 
ว่ายางที่มีร่องระหว่างดอกยาง 

แล้วทำไมยางรถยนต์ทั่วไป จึงมีดอกหรือมีร่อง ทั้งที่ผลิตยากกว่าแบบเรียบ และต้องเสียหน้าสัมผัสกับ 
พื้นถนนตรงช่วงที่เป็นร่องไป ? 

เพราะยางหน้าเรียบเกาะถนนดีบนถนนเรียบแห้งเท่านั้น แต่ถ้าถนนเปียกจะลื่นมาก เพราะหน้ายางที่แบน 
กว้าง จะไม่สามารถกดรีดน้ำออกจากหน้ายาง เพื่อให้หน้ายางสัมผัสกับพื้นตามปกติได้ น้ำเลยกลายเป็น 
ชั้นฟิล์มคั่นอยู่ระหว่างยางกับผิวถนน ก็เลยลื่นหรือมีอาการเหิรน้ำ 

หน้ายางที่กว้างประมาณสิบเซ็นติเมตรขึ้นไป เมื่อกดลงบนพื้นถนนที่เปียกน้ำ ย่อมไม่สามารถรีดน้ำออกจาก 
หน้าสัมผัสได้ เสมือนเอาฝ่ามือที่นิ้วมือชิดกัน กดแรงๆ ลงบนพื้นที่เปียกน้ำ 

การแบ่งหน้าสัมผัสออกเป็นบล็อกเป็นดอกด้วยร่องยาง ทำให้การกดรีดน้ำออกจากหน้ายางทำได้ดีขึ้น 
เพราะเท่ากับเป็นการรีดน้ำออกจากพื้นที่ย่อยๆ ที่แคบลง และมีร่องลึกอยู่รายรอบ เพื่อให้น้ำที่ถูกรีดแทรก 
ตัวเข้าไปได้ และถ้าร่องต่อกันก็จะช่วยให้สลัดน้ำออกด้านข้างได้ดีขึ้นไปอีก เปรียบเทียบได้กับการกางนิ้ว 
มือออก แล้วกดมือลงบนพื้นเปียกนั่นเอง ดอกหรือร่องยางจึงลดอาการลื่นของยาง เมื่อต้องขับรถยนต์ลุย 
ฝนหรือบนถนนลื่น โดยต้องยอมเสียหน้าสัมผัสพื้นถนนบางส่วนให้เป็นร่องยางแทน 

ดังนั้นการบอกลอยๆ ว่า ยางดอกหมด ยางหัวโล้น แล้วจะลื่นนั้น ผิด 

เพราะที่ถูกต้อง น่าจะบอกว่า ยางดอกหมด ยางหัวโล้น จะลื่นบนถนนเปียก ส่วนบนถนนแห้งสนิทนั้น 
เกาะถนนดีกว่ายางมีดอก (ทั้งยางรถแข่งและรถยนต์ทั่วไป) 

แล้วทำไมเมื่อดอกหมดแล้วต้องรีบเปลี่ยนยางชุดใหม่ ทั้งที่ไม่ใช่หน้าฝน ? 

เพราะรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป ผู้ขับคงไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะเจอถนนเปียกเมื่อไร ขับไปแล้วอาจเจอโดย 
ไม่ได้ตั้งตัว เพราะไม่มีทีท่าว่าฝนจะตก หรือพื้นถนนเปียกจากน้ำรดต้นไม้ 

ถ้ายางไม่มีร่อง หรือมีแต่ไม่ลึกพอให้น้ำเข้าไปแทรกอยู่ได้ ก็จะลื่นไถลได้ง่ายมาก ส่วนรถแข่งทางเรียบ 
นั้น ถ้าฝนตกหรือผิวสนามลื่น ก็มักรู้ตัวก่อนและค่อยๆ ประคองรถเข้าพิต เพื่อเปลี่ยนเป็นยางมีดอก แล้ว 
ออกไปแข่งต่อ 

ปัจจุบันมีผู้ผลิตยางบางราย เริ่มผลิตยางรุ่นที่เน้นสำหรับการขับหรือแข่งบนทางเรียบแบบสมัครเล่น โดย 
ออกแบบให้มีหน้าสัมผัสกับถนนมากๆ เป็นหลัก คือ มีร่อง แต่น้อยและแคบ และอยู่ห่างกันมาก เพื่อให้ 
สามารถขับบนถนนเปียกได้บ้าง ไม่ถึงกับลื่นไถล แต่ก็ไม่สามารถรีดน้ำได้ดีเท่ากับยางทั่วไปที่มีร่องรีดน้ำม 
ากกว่า 

เ มื่ อ ไ ร ด อ ก ย า ง ห ม ด 

เมื่อดอกยางจุดที่เตี้ยที่สุด มีร่องลึกน้อยกว่า 1.5-2 มิลลิเมตร ซึ่งตัวเลข 1.5-2 มิลลิเมตรนี้ รวบรวม 
มาจากคำแนะนำของผู้ผลิตยางหลายยี่ห้อ จึงไม่สามารถสรุปเป็นตัวเลขตายตัวได้เป๊ะๆ 

ในความเป็นจริง ก็ไม่ค่อยมีใครหยิบไม้บรรทัดมาวัดหรือหาอะไรมาแหย่เพื่อวัดความลึกของร่องยาง 
เพราะไม่สะดวก และจริงๆ แล้วก็ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการวัด ดังนั้นส่วนใหญ่จึงดูด้วยสายตา และ 
ประเมินเอาว่าดอกยางหมดหรือยัง 

ในขั้นตอนการออกแบบและผลิต ผู้ผลิตยางได้อำนวยความสะดวกในการดูว่ายางดอกหมด หรือร่องตื้นเกิน 
กว่าที่จะใช้งานบนถนนได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือวัด 

โดยในร่องยางบางจุดจะนูนขึ้นจากปกติประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร แต่มิได้นูนขึ้นมาจนเท่ากับหน้ายางตอ 
นที่ยังใหม่ๆ สมมุติตอนใหม่ๆ ร่องลึก 8 มิลลิเมตรเท่ากันตลอด ก็จะมีในบางจุดที่ร่องลึกแค่ 6-6.5 
มิลลิเมตร เสมือนมีเนินเตี้ยๆ อยู่ก้นหลุม ซึ่งเมื่อดอกยางสึกมากเข้า ก็จะเรียบเท่ากับยอดเนินเตี้ยๆ ที่ 
ก้นหลุมนั้น 

เป็นการบอกว่าดอกยางเตี้ยเกินไป หรือร่องโดยรวมตื้นเกินไปแล้ว หรือดูง่ายๆ สำหรับดอกยางที่มีลวด 
ลายของร่องเป็นแนวตรงโดยรอบ ปกติแล้วร่องจะต่อกันตลอดแนว แต่พอดอกยางสึกลงไปจนบางส่วนเท่า 
กับเนินนั้น จนทำให้ร่องยางไม่ต่อกัน แสดงว่ายางเหลือร่องรีดน้ำเตี้ยเกินไปแล้ว 

การหาว่าจุดไหนของร่องยาง มีเนินเตี้ยๆ อยู่กันหลุมหรือที่ฐานของร่อง ไม่ต้องเดาหรือเสียเวลานาน 
เพราะมีจุดสังเกตได้จากขอบของแก้มยางบริเวณใกล้ๆ กับขอบริมของหน้ายาง จะมีตัวอักษร TWI หรือ 
สัญลักษณ์รูป 3 เหลี่ยมขนาดเล็ก ชี้เข้าหาหน้ายาง 

โดยปกติแล้วจะมี 6 จุดในแก้มยางแต่ละด้าน แบ่งห่างเท่าๆ กัน ในมุม 60 องศาของวงกลม แต่ในยาง 
บางยี่ห้ออาจห่างไม่เท่ากัน หรือไม่ได้มี 6 จุด แต่ก็มีหลายจุดในแต่ละด้าน ยางในบางยี่ห้ออย่างมิชลิน ก็ 
ใช้สัญลักษณ์ตัวบีเบนดั้มขนาดเล็ก เป็นจุดสังเกตแทนรูป 3 เหลี่ยม 

สัญลักษณ์เหล่านี้ ไม่ได้มีไว้บอกการสึก หรือดูว่าเมื่อไรสัญลักษณ์นี้ลบแล้วแสดงว่ายางสึกแต่อย่างไร 
เพราะอยู่บริเวณแก้มยางซึ่งไม่สัมผัสพื้นจึงไม่สึก (แต่ถ้าเข้าโค้งแรงๆ จนขอบของแก้มยางเอนแนบลงกับ 
พื้นถนน สัญลักษณ์ก็อาจสึกได้) เมื่อเจอสัญลักษณ์ข้างต้นที่ริมนอกของแก้มยางแล้ว ก็ให้มองในแนวเดียวกัน 
ไล่ขึ้นไปที่หน้ายาง และมองลึกลงไปที่ร่องยาง ก็จะพบกับเนินเตี้ยๆ ที่ร่องยาง เมื่อไรที่ดอกสึกไปถึงยอด 
เนินนั้น แสดงว่าดอกหมดหรือร่องตื้นและไม่ควรใช้ต่อ (ไม่ใช่ต้องสึกจนหมดเนินหรือหมดร่อง) 

สาเหตุที่ผู้ผลิตแนะนำให้ใช้จนเหลือแค่ร่องตื้นๆ ไม่ใช่หมดร่อง ทั้งที่ดูแล้วร่องนั้นน่าจะยังพอช่วยในการรีด 
น้ำได้ 
เพราะจริงๆ แล้ว ร่องตื้นๆ นั้น มีช่องว่างให้น้ำที่ถูกรีดไล่ออกจากหน้ายางแทรกตัวอยู่ได้น้อยมาก ส่งผล 
ให้หน้ายางไม่สามารถรีดน้ำได้อย่างต่อเนื่อง 

เรื่องความสูงของเนินขนาดเล็กในร่องยาง ว่าแต่ละยี่ห้อสูงเท่าไร ? พบว่าในแต่ละยี่ห้ออาจไม่เท่ากัน 
แต่อยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงกัน คือ 1.5-2 มิลลิเมตร ซึ่งผู้ใช้ก็ไม่ต้องดิ้นรนหาตัวเลขนั้นว่าเป็นเท่าไร 

เอาเป็นว่าผู้ผลิตได้ทดสอบหาความเหมาะสมมาแล้วว่า ยางรุ่นนั้น ควรเหลือดอกยางสูงไม่ต่ำกว่าเท่าไร 
แล้วยังใช้งานได้ดี และออกแบบทำเนินให้สูงตามนั้น ผู้ใช้ก็แค่ใช้จนดอกสึกลงไปเท่ากับยอดเนินก็ควรเปลี่ 
ยนยางชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม ยางรถยนต์ก็สามารถหมดอายุได้แม้ดอกยังไม่หมด เช่น ยางเก่าเก็บ รถ 
ยนต์ใช้งานไม่มาก จอดมากกว่าขับ ทำให้หน้ายางไม่ค่อยสึก แต่ยางก็หมดอายุได้ จากการหมดสภาพทั้ง 
ของโครงสร้างภายใน และความแข็งของเนื้อยาง เพราะโดยพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ยางทุกประเภท จะ 
แข็งตัวขึ้นเรื่อยๆ ตามความร้อนและเวลาที่ผ่านไป เนื้อยางที่แข็ง ย่อมมีแรงเสียดทานน้อยลงหรือลื่นขึ้นนั่ 
นเอง 

โดยเฉลี่ยแล้ว แม้ดอกยางยังไม่หมด ก็ไม่ควรใช้งานเกิน 3 ปี ถ้าจะใช้เกิน ควรพิจารณาความแข็ง 
การแตกลายงา หรือการแตกปริของเนื้อยางอย่างละเอียด
http://www.chaliang.com/new/Board-Detaile207.html?ID=01981

 
 
 


ผู้ตั้งกระทู้ Toykrub :: วันที่ลงประกาศ 2015-12-09 01:02:37 IP : 27.145.54.176


1

ความคิดเห็นที่ 1 (3409264)
avatar
ชาว CK

ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชาว CK วันที่ตอบ 2015-12-09 13:03:53 IP : 115.31.161.226



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.