ไม่มีคำตอบเลยครับ
avatar
HID


ไฟหน้า HID Xenon VS Halogen

 

หนึ่ง อยากทราบว่าต่างกันอย่างไรทั้งด้านราคา และคุณภาพ

สอง HID Xenon ถูกกฏหมายหรือไม่ แล้วความสว่างเท่าไร่จึงไม่ผิดกฎหมาย



ผู้ตั้งกระทู้ HID (piyabhol-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-07-07 09:59:52 IP : 58.181.168.34


1

ความคิดเห็นที่ 3 (3036542)
avatar
k13

"K ยิ่งมาก ดูเหมือนสว่างมากขึ้น แต่จริงๆแล้ว สว่างน้อยลง "

สุดยอดครับ ไม่เคยรู้ข้อนี้มาก่อนเลย นึกว่าแปรผันตามกันเสียอีก

อยากได้เหมือนกันครับ แต่ถ้าเสียที หนาวเลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น k13 วันที่ตอบ 2009-07-08 08:27:51 IP : 61.7.160.6


ความคิดเห็นที่ 2 (3036075)
avatar
HID

ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น HID วันที่ตอบ 2009-07-07 13:08:41 IP : 58.181.168.34


ความคิดเห็นที่ 1 (3036059)
avatar
อ๊อฟ

ข้อมูลจาก coronacarclub.com ครับ

http://coronacarclub.com/board/index.php?topic=69.0

----------------------------------------------------------------------------------------

มารู้จักไฟหน้าแบบ HID..


ไฟหน้ารถยนต์คืออุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากในการขับขี่ ซึ่งถือเป็นระบบความปลอดภัยเชิงป้องกัน หรือ Active Safety ที่สำคัญ ดังนั้นระบบไฟหน้าแบบ HID (High Intensity Discharged)... จึงถูกคิดค้นขึ้นเป็นนวัตกรรมล่าสุดของระบบไฟหน้ายุคใหม่ที่ให้แสงสว่างที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ไม่สร้างความรำคาญให้กับผู้ขับขี่รถที่แล่นสวนทาง


ความเข้มของลำแสงจะเพิ่มขึ้นและส่องสว่างได้กว้างไกลกว่าเดิม.. เพราะหลอดไปแบบ HID เป็นแบบไม่มีไส้ คล้ายกับหลอดฟลูออเรสเซนท์ที่ใช้ตามบ้าน ขณะที่หลอดไฟธรรมดาที่ใช้ในรถยนต์ทั่วไป ยังคงเป็นแบบมีไส้ นอกจากนี้ระบบ HID ยังติดตั้งตัวเพิ่มกำลังไฟ หรือบัลลาร์ด เพื่อแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรง 12 โวลท์ เป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับประมาณ 20,000 โวลท์ ก่อนส่งเข้าสู่ตัวหลอดเพื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซที่อยู่ภายในหลอดไฟจนเกิดแสงสว่าง


แสงที่ได้จากไฟหน้าแบบ HID จะแผ่กระจายได้กว้างไกลกว่า และมีความเข้มข้นของลำแสงมากกว่าไฟแบบธรรมดาทั่วไปหลายเท่า แต่มีสีสันที่สบายตาและสิ้นเปลืองพลังงานต่ำ ปัจจุบัน โตโยต้าได้นำเทคโนโลยีนี้ มาติดตั้งในรถคัมรี่ 2.4Q ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการส่องสว่างในระยะ 10 เมตร ดีกว่ารุ่นเดิมถึง 60% แต่สิ้นเปลืองพลังงาน เพียง 35 วัตต์ และเพื่อให้การทำงานของระบบไฟหน้ามีประสิทธิภาพในการส่องสว่าง และเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น โตโยต้ายังได้ติดตั้ง ระบบ Auto Leveling ซึ่งสามารถปรับระดับลำแสงจากโคมไฟให้อยู่ในตำแหน่งคงที่โดยอัตโนมัติ แม้ตัวรถยนต์จะลดต่ำลงจากสภาพบรรทุกผู้โดยสารเต็มอัตราก็ตาม

เพิ่มเติม

ใครๆ ก็เคยได้ยินชื่อไฟซีนอน (อ่านว่า ซี-น่อน) หลายสื่อเคยนำเสนอ แต่อาจซับซ้อนจนงง บางคนเข้าใจผิดว่าซีนอนสว่างมากจนแยงตา หรือเป็นของเล่นราคาแพงเพราะถ้าจะติดเพิ่มต้องจ่ายหลายหมื่นบาทอ่านบทความที่ทำความเข้าใจได้ง่ายๆ เกี่ยวกับไฟซีนอน

ไฟซีนอน ถูกนำมาใช้ในรถอย่างจริงจังเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว เริ่มต้นจากรุ่นราคาแพงหลายล้านบาท ก็เริ่มขยับถูกนำมาในรถราคาถูกลง แม้กระทั้งรถปิกอัพบางยี่ห้อก็มีใช้ แต่ก็ยังไม่แพร่หลาย ถือว่ามีใช้ในรถบางรุ่นเท่านั้น ถ้าไม่นับรถปิกอัพก็จะมีแต่รถคันละล้านกว่าบาทขึ้นไปที่มีใช้ไฟซีนอน จึงเหมือนเป็นระบบไฟพิเศษราคาแพง ยากที่จะได้ใช้ แต่ก่อนถ้าจะติดตั้งเพิ่มเติมก็ชุดละเป็นหมื่นบาท หลายคนจึงรู้จักไฟซีนอนเพียงผิวเผิน รู้แต่ว่ามีใช้ในรถราคาแพงและสว่างดี ส่วนการทำงานจริงเป็นอย่างไร หรือติดตั้งเพิ่มได้ไหม จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว

++ความแตกต่างจากฮาโลเจน++

คนในยุคนี้ คุ้นเคยกับหลอดไฟแบบฮาโลเจน หลอดแบบมีไส้ภายในบรรจุก๊าซฮาโลเจน (ไม่ใช่เรียกเพี้ยนๆ แบบบางคนว่า หลอดไฮโดรเจน) ซึ่งแตกต่างแค่รายละเอียดด้านขนาด รูปทรงของฐาน ความสว่าง หรือจำนวนของไส้ โดยมีรหัสเรียก เช่น H1 H2 H3 H4 มีราคาตั้งแต่หลอดละ 50 บาท ไปจนถึงหลอดไฟของแต่ง ราคาหลอดละเป็นพันบาท

เปรียบเทียบการทำงานแบบง่ายๆ ของหลอดฮาโลเจน ก็คือ หลอดไฟแบบมีไส้ จ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไป ทำให้ไส้ร้อนเปล่งแสงผ่านก๊าซที่ชื่อ ฮาโลเจนที่บรรจอยูในหลอดรอบตัวไส้ ถ้าหลอดแตกจนก๊าซรั่วหรือไส้ขาดก็เสีย รับไฟ 12 โวลต์ตรงๆ จากระบบปกติของรถ การเปิดให้สว่างก็แค่จ่ายกระแสไฟเข้าไฟแสงจะสว่างขึ้นอย่างฉับไว แบบเดียวกับที่กะพริบไฟสูงหากยังงงให้นึกถึงหลอดไฟที่ใช้ในบ้าน เป็นหลอดกลมๆ ทรงคล้ายน้ำเต้า มีไส้ต่อไฟโดยตรงนั่นเอง แสงของไฟมักจะสว่างแบบอมเหลืองดูโปร่งๆ

ส่วนหลอดไฟซีนอน ภายในบรรจุก๊าซชื่อ ซีนอน ไม่มีไส้โดยตรงแบบฮาโลเจน ทำงานคล้ายกับหลอดไฟนีออนที่ใช้ในบ้าน ต้องมีตัวแปลงและควบคุมกระแสไฟ เรียกว่า บัลลาร์ด เป็นกล่องคั่นระหว่างสายไฟปกติ ก่อนต่อเข้าตัวหลอด แสงจะออกมานวลๆ

การเปิดให้หลอดซีนอนสว่าง ตัวบัลลาร์ดจะสร้างกระแสไฟฟ้าระดับ 20,000 กว่าโวลต์ ส่งเข้าไปยังตัวหลอดเพื่อจุดในครั้งแรก และในอีกประมาณ 1-2 วินาที ก็จะลดกระแสไฟฟ้าลงเหลือ 12 โวล์ต (หรือไม่กี่สิบโวลต์) ต่อเนื่องไป

สรุปง่ายๆ ว่า ระบบไฟซีนอน มีกระแสไฟเป็นหมื่นโวลต์ถูกสร้างขึ้นด้วยกล่องบัลลาร์ดในช่วงสั้นๆ เพื่อจุดหลอดให้สว่างเท่านั้น ต่อจากนั้นก็จะลดไฟลงมาเหลือไม่กี่สิบโวล์ตคงความสว่างไว้ตัวหลอดซีนอน จะต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 วินาที กว่าจะสว่างเต็มที่หลังจากจุดครั้งแรก จึงทำให้ถูกใช้แต่หลอดไฟต่ำ แต่ไม่ใช้กับไฟสูง เพราะสว่างไม่ทัน ถ้ามีการกะพริบไฟหรือเปิดไฟสูงในทันที ไฟซีนอนที่มีทั้งไฟต่ำและสูง จึงไม่ใช่เป็นการแยก 2 หลอดจุดหลอดใหม่ แต่ใช้หลอดเดียวต่อข้าง สว่างตลอด และใช้การเลื่อนตัวหลอดหรือตัวบัง ให้เปลี่ยนเป็นไฟต่ำหรือสูงได้ในหลอดที่สว่างตลอดอยู่หลอดเดียว

สรุปง่ายๆ ก็คือ ฮาโลเจน คล้ายกับหลอดไฟกลมที่ใช้ในบ้าน ต่อไฟเข้าไปโดยตรงเลย ส่วนซีนอนคล้ายกับหลอดนีออนที่บ้าน ไม่มีไส้ และต้องมีตัวแปลงไฟหรือบัลลาร์ด

++แอบอ้างว่าเป็นซีนอน++

ด้วยความโดดเด่นของไฟซีนอนว่า สว่างมีแสงขาวดีและมีราคาแพง จึงเป็นเหตุให้มีการใช้ชื่อซีนอน ไปเรียกหลอดฮาโลเจนแบบพิเศษหรือหลอดของแต่ง ที่มีความสว่างสูงกว่าปกติ หรือย้อมสีตัวเปลือกหลอดให้มีแสงไม่อมเหลือง เป็นแสงเกือบขาวหรืออมฟ้า แต่ยังไงก็ไม่เหมือนซีนอนแท้ๆ โดยเป็นหลอดฮาโลเจน แต่พยามเรียกว่าเป็นซีนอน นับว่าเมื่อไรเป็นหลอดฮาโลเจนของแต่งที่มีแสงสีขาว หรืออมฟ้าอมม่วง บางทีก็ถูกโมเมเรียกว่าซีนอนเลย ทั้งที่คนที่เรียกยังไม่เข้าใจระบบซีนอนจริงๆ ก็เป็นได้ ถ้าเป็นของราคาถูกยี่ห้อทั่วไปหรือของไต้หวันก็อาจจะมั่วเรียกว่าซีนอนเลย แต่ถ้าเป็นยี่ห้อดัง อาจจะอายหน่อย เรียกเลี่ยงๆ ว่า XENIN LOOKS หรือสารพัดประโยคที่จะหลอกให้เข้าใจผิดว่าเป็นซีนอน หลายคนจึงเข้าใจผิดว่า หลอดฮาโลเจนของแต่งที่สีขาวหรืออมฟ้า หรือสีแปลกๆ ราคาคู่ละหลายร้อยบาทหรือเป็นพันบาท คือ หลอดซีนอน ทั้งที่ไม่ใช่เลย

++จับผิดอย่างไรว่า เป็นซีนอนแท้หรือไม่++

เมื่อไรที่เห็นหลอดไฟหรือชุดไฟที่อ้างว่าเป็นซีนอนหรือเปล่า ดูโดยใช้หลักการง่ายๆ คือ

1. ตัวหลอดเป็นทรงที่คุ้นเคยหรือเปล่า มีไส้ให้เห็นชัดเจนหรือเปล่า ถ้าใช่ก็เป็นหลอดฮาโลเจน ถ้าเป็นซีนอนจะซับซ้อนกว่าและมีช่วงหนึ่งเป็นตัวหลอดบรรจุก๊าซโล่งๆ

2. ซีนอนต้องมีกล่องบัลลาร์ดแปลงไฟ ขนาดประมาณเท่าฝ่ามือหนาครึ่ง-1 นิ้ว ถ้าต่อหลอดเข้ากับไฟ 12 โวลต์โดยตรง แสดงว่าเป็นฮาโลเจนโดยรวมแล้วสังเกตุที่ระบบได้ว่ามีกล่องบัลลาร์ดหรือเปล่า ถ้าถ้าหลอดต่อไฟตรงล่ะก็ไม่ใช่ซีนอนแน่ๆ

++XENON สังคมพิพากษาว่าแยงตา ตัวร้ายบนถนน++

หลายคนเชื่อว่า เมื่อไรเป็นซีนอนแท้ แสงต้องแรงสว่างจ้า และแยงตา รบกวนผู้อื่นอาจเป็นเพราะมีรถบางรุ่นที่ผลิตออกมาจากสายการผลิตแต่ผู้ขับขาดการปรับตั้งที่ดี หรือตัวโคมสะท้อนมีการควบคุมการฉายที่ไม่ดีบางรุ่นเป็นปิกอัพ พอบรรทุกหนักแล้วหน้าเชิด ไฟยิ่งสูงขึ้นไปอีกผู้ขับยิ่งชอบเพราะมองได้ไกล โดยมองข้ามไปว่าจะไปแยงตาคนอื่นไหมรวมถึงรถที่เปลี่ยนไฟฮาโลเจนที่มีความสว่างสูงๆ สีขาว อมฟ้า อมม่วง ใส่ในจานฉายเดิม โดยอ้างว่าเป็นหลอดซีนอน อีกทั้งยังไม่ปรับตั้งมุมฉายให้กดลง ก็เลยแยงตาคนอื่น

คนทั่วไปเมื่อได้ยินคำว่าซีนอน ก็คิดไปก่อนเลยว่า ในเมื่อไฟซีนอนมีราคาแพงและมีความพิเศษในตัวเอง ไม่งั้นจะใส่ในรถราคาแพงหรือรุ่นใหม่ๆ ให้เสียเวลาพัฒนาไปทำไม หลายคนคิดว่า ซีนอนจะต้องแยงสายตาคนเสมอ พิพากษากันเสร็จสรรพ ทั้งที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักระบบไฟซีนอน คิดแต่ว่าเมื่อไรเป็นซีนอนแล้วแสงต้องแรงแยงสายตาแน่ๆเพราะเคยเจอมากับตัวเองบนถนน กับรถรุ่นที่มีปัญหา ซึ่งบังเอิญว่าเป็นรถราคาไม่แพง จึงมีขายออกมาใช้กันเยอะ

ส่วนรถที่ไฟซีนอนไม่แยงตา ก็มักจะเป็นรถคันละหลายล้านบาทซีนอนเป็นอีกระบบไฟส่องสว่างที่ต่างจากฮาโลเจน ในกลุ่มของซีนอนเองก็แยกย่อยเป็นหลายระดับความสว่างและออกหลายโทนสี มีไม่ต่ำกว่า 5-10 รุ่นของประสิทธิภาพหลอด มีตั้งแต่สีอมเหลืองๆ ส้มๆ คล้ายฮาโลเจนไปจนถึงอมฟ้าอมม่วงเลย ส่วนการแยงสายตา ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ตัวหลอด เพราะตัวกลอดก็มีใช้มีขายหลายค่าคว่างสว่าง ไม่ใช่หลอดติดตั้งอยู่ลอยๆ แสงจะพุ่งออกมาได้ ต้องอาศัยจานสะท้อน ถ้าออกแบบจานสะท้อนมาดี มีการควบคุมการกระจายของแสงได้ดี ตัดขอบแสงไม่ให้กระจาย การรวมแสง (เช่น มีเลนส์โปรเจคเตอร์) และมีการปรับตั้งมุมกดดี ถึงตัวหลอดจะมีแสงแรง แต่ก็อาจจะไม่แยงสายตาก็เป็นได้

ซีนอน เป็นระบบไฟหน้าซึ่งไม่ถือว่าใหม่ในยุคนี้แล้ว เพราะมีการใช้แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ อีกไม่เกิน 5 ปี เกินครึ่งของรถใหม่น่าจะเป็นไฟซีนอน

วรพล สิงห์เขียวพงษ์
ที่มา
www.manager.co.th

เห็นมีแต่ลงโฆษณาบรรยายสรรพคุณขายกันเยอะแยะ สงสัยคงอ่านกันจนเบื่อแล้วครับ วันนี้เลยมีเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆมาฝากครับ เป็นคำถามที่ดีมากๆจากประสบการณ์ เลยเอามันปัน แชร์ความรู้กันครับ...

ขอยกเครดิตนี้ให้แก่ คุณแมวเหมียวพุงป่อง แห่ง web pantip
และคุณ nui alpine จาก bmwccth.com ครับ

1.ค่า K ของหลอดไฟมีผลต่อความสว่างและสีของแสงที่ออกมาไหม
ตอบ มีผล

ค่า K คือ อุณหภูมิสี(ไม่ใช่อุณหภูมิของไส้หลอด)ของแสงที่ออกมา โดยเทียบกับสีของของที่เผาจนร้อน จนอุณหภูมิที่ระบุ (กี่ K ก็ว่าไป)

หลอด 5000k คือ หลอดที่มีสีสันของแสงไฟ เหมือนของที่เผาจนร้อน 5500 องศา Kelvin

เน้น ... เน้น .... เน้น ...

*** สีสัน ไม่ใช่ความสว่าง ***

และ ...

K ยิ่งมาก ดูเหมือนสว่างมากขึ้น แต่จริงๆแล้ว สว่างน้อยลง

ยิ่งหลอด xenon ยิ่งเห็นผลชัด หลอด 4100k ให้ความสว่างประมาณ 3500 lumens ในขณะที่หลอด 10,000-12,000 ให้ความสว่างไม่เกิน 2000 lumens

2. ค่า K มีผลต่อความร้อนภายในโคมไฟหน้าไหม
ตอบ ค่า K ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความร้อนของหลอด
ความร้อน และความสว่าง ขึ้นกับจำนวนวัตต์ของหลอด

3.ถ้า ค่า K มากๆจะทำให้โคมไฟหน้าขุ่นหรือละลายไหม (ถ้าเป็นโคมพลาสติก)
แล้วสรุปว่าค่า K คืออารัย? ประโยชน์คืออะไร? ยิ่งมาก ยิ่งทำไมหรือ?
ตอบ ค่า K ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความร้อนของหลอด ฉะนั้น จะขุ่นหรือไม่ขุ่น ไม่ได้เกี่ยวกับค่า K
K ยิ่งสูง ก็แค่สวย

เกร็ดเล็กๆแต่สำคัญอย่างยิ่งยวดเลยครับ

 หลอด xenon มาตรฐาน ใช้พลังงานน้อยกว่า แต่สว่างกว่าหลอด halogen

 xenon แท้ ต้องกินไฟ 35w
ที่บอกกินไฟ 50/55w หรือ ฯลฯ ไม่ใช่ xenon แท้ แต่เป็นหลอดธรรมดา ที่เคลือบสี ให้ดูเหมือน xenon

 หลอด xenon แท้ ประสิทธิภาพการเปลี่ยนไฟฟ้า เป็นแสงสว่าง อยู่ที่ 100L/W แต่หลอดมีไส้ทุกอย่าง ประสิทธิภาพไม่เกิน 20L/W

ฉะนั้นหลอด xenon กินไฟ 35w จะให้แสงสว่าง 3500L
หลอดมีไส้ กินไฟ 50w แต่ให้แสงสว่างประมาณ 1000L

 ไฟที่ค่า K สูงๆ สวยมาก แต่มองถนนมืดๆ ไม่ชัดเท่า ค่าK ต่ำๆ โดยเฉพาะถนนแคบๆ ต่างจังหวัด ที่ข้างทางเป็นหญ้า แม้ในถนนหลวงสายเมน บางแห่ง แทบมองไม่เห็นเส้นขอบทางด้วยซ้ำไป

 หนักที่สุดคือ ไฟที่ค่า K สูงมากๆ ในโคมแบบเก่า จะใช้งานได้ไม่ดีเวลาฝนตกหนักๆ เพราะมันจะกลืนกับสายฝน
หน้าหนาว .. ฝนไม่ตกแล้ว หมอกแถวๆกรุงเทพก็ไม่มี กว่าจะรู้อีกที ก็ต้องปีหน้า

-----------------

ผู้แสดงความคิดเห็น อ๊อฟ วันที่ตอบ 2009-07-07 12:39:14 IP : 61.90.147.248



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.