รถติดไฟแดงเข้าเกียร์ p กันทำไม
avatar
jo


บางครั้งเวลารถติดไฟแดง สังเกตรถคันหน้ามีไฟถอยหลังกระพริบหลังจากหยุดนิ่ง และกระพริบอีกทีก่อนออกตัว สันนิษฐานว่าจะปลดเกียร์ไปที่ตำแหน่ง p ในขณะจอดรอสัญญาณไฟซึ่งมันต้องผ่านตำแหน่ง R คันหลังอย่างเราก็เสียวสิครับ กลัวจะถอยมาชนซึ่งไม่ควรทำมันอันตราย ปกติแค่ปลดมาเป็น N แล้วใส่เบรคมือก็น่าจะพอแล้วไม่ใช่หรือครับ มีใครเคยมีประสบการณ์อย่างนี้บ้างครับ ผมเข้าใจถูกหรือผิดครับ



ผู้ตั้งกระทู้ jo :: วันที่ลงประกาศ 2009-07-27 22:25:48 IP : 125.25.8.191


1

ความคิดเห็นที่ 9 (3276915)
avatar
steve

มีอยู่วันนึงผมขับไปซื้อของพอจอดแล้วรถยังไม่หยุดดี ผมดันเข้าเกียร์ p ซะก่อนจะมีปัญหาอะไรไหมคับ

ผู้แสดงความคิดเห็น steve วันที่ตอบ 2010-12-13 23:50:41 IP : 117.47.72.78


ความคิดเห็นที่ 8 (3055524)
avatar
สุรวิท

ได้ความรู้อีกเยอะเลย มีข้อมูลแบบตรงไปตรงมาจากทั้งสองสี เอ้ย สองฝ่ายแบบนี้ประชาชนก็สามารถตัดสินใจได้ว่าจะเลือกสีไหน เอ้ย เอาใหม่คนอ่านก็ได้ความรู้และนำไปปฏิบัติกันได้อย่างถูกวิธี นี่แหล่ะครับคือสื่อกลางที่เปิดกว่างอย่างแท้จริง

ผู้แสดงความคิดเห็น สุรวิท วันที่ตอบ 2009-08-01 08:09:49 IP : 61.91.73.21


ความคิดเห็นที่ 7 (3054242)
avatar
Zoro หลานผู้ใหญ่ลี

ผลดีของการเข้าP

ถ้ารถติดนานๆไม่ขยับหรือรอสัญญาณไฟแดงนานมากๆก็ควรจะเข้าเกียร์Pเพื่อที่การทำงานของระบบเกียร์จะได้พักหายใจบ้าง

 

ผลเสียของการเข้าN

1.การที่เราจอดรถติดไฟแดงแล้วเหยียบเบรกค้างเอาไว้จะทำให้คนด้านหลังรู้สึกรำคาญแสงไฟที่ยิงตา

2.ตำแหน่งNก็สามารถสร้างความอ่อนแอให้ระบบเกียร์ได้เช่นกันเนื่องจากการที่รถเราเคลื่อนที่มาแล้วหยุดหลังจากใส่Nไว้ระบบเกียร์ยังคงดำเนินการอยู่ทำให้การใช้งานเสื่อมเร็วเช่นกัน

 

สรุป

อยู่ที่การใช้งานในแต่ระสถานการณ์ครับถ้ารถติดมากๆใช้Pดีกว่าครับปลอดภัยด้วย

 

นี่คือความคิดเห็นส่วนตัวของผมซึ่งใช้แล้วว่าดี

ผู้แสดงความคิดเห็น Zoro หลานผู้ใหญ่ลี วันที่ตอบ 2009-07-30 15:24:48 IP : 118.174.64.94


ความคิดเห็นที่ 6 (3052496)
avatar
ป๋าสม

จังซี่มันต้องถอน 5555

ผู้แสดงความคิดเห็น ป๋าสม วันที่ตอบ 2009-07-28 09:45:27 IP : 125.26.144.49


ความคิดเห็นที่ 5 (3052487)
avatar
ตาแดง

เคยถามที่เขา P  เขาให้เหตุผลว่า ปลอดภัยกว่า N  หากในรถมีเด็ก ๆ หรือ ไม่ใช่เด็กแต่เรียกว่า เด็ก บังเอิญมือล้วงไปโดนคันเกียร์ จาก N มา เลื่อนมาง่ายมาก รถก็จะพุ่งไปชนก้นเขา(เราผิดแน่นอน) ถ้าเปรียบเทียบกับ P มา N ซึ่งโอกาสเลื่อนมาโดยบังเอิญแทบไม่ม่เลย ดีอย่าง หากอยู่ที่ P แล้วโดนชนก้น เราไม่เสียเงินแน่นอน (เราไม่ผิด) เรื่องเกียร์ เปลี่ยนแค่สลักตัวเดียว ไม่กี่บาท  ส่วนผมเอง ใช้ทั้ง p และ n ตามอารมณ์ คราบ...

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาแดง วันที่ตอบ 2009-07-28 09:28:26 IP : 125.24.250.15


ความคิดเห็นที่ 4 (3052482)
avatar
บอย

จริงๆถ้าหยุดรถไม่นานก็ไม่ควรปลดเกียร์ เหยียบเบรคค้างเกียร์ D ไว้แบบนั้นล่ะครับเพราะมันจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเกียร์

การเปลี่ยนเกียร์ยิ่งบ่อย ก็ยิ่งเสื่อมเร็วครับ ข้อควรระวังอีกอย่าง อย่าเข้าเกียร์ N ถ้ารถยังไม่หยุดนิ่งเด็ดขาด เพราะขณะที่รถวิ่งอยู่ จะมีแรงดันน้ำมันสูงมากๆ ถ้าปลดเกียร์เป็น N ก็จะสร้างความเสียหายให้แก่ชุดเกียร์ได้

ผมเคยเจอประสบการณ์นี้ด้วยตัวเองครั้งนึง คือผมใช้รถเบนซ์ 230E วางเครื่อง 3000 วิ่งอยู่บนทางด่วนแล้วไปปลดเกียร์ N เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ปรากฎว่า เกียร์หายไปหนึ่งสปีด จาก 4 เหลือ 3 สปีดที่หายไปคือสปีด 2 ทำให้กินน้ำมันเพิ่มขึ้น เข้าศูนย์ผ่าดูก็มองไม่ออก ช่างก็งง ไปเช็คกล่องสมองกลก็เง็ง สุดท้ายขายไปแล้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น บอย วันที่ตอบ 2009-07-28 09:19:57 IP : 58.10.68.109


ความคิดเห็นที่ 3 (3052444)
avatar
เล็ก

จริงๆแล้ว ในขณะติดไฟแดงไม่ควรที่จะเข้าเกียร์ P เพราะหากมีรถมาชนท้ายเข้า นอกจะท้ายจะเสียหายแล้ว จะทำให้เกียร์เสียหายด้วย เนื่องจากเกียร์ P จะมีสลักอยู่เพื่อไม่ให้รถไหล

โอกาสที่จะใส่เกียร์ P มีเพียงเมื่อจอดรถและลงจากรถเท่านั้น

ส่วนเรื่องเสียวนะ ผมเห็นเข้าก็เสียวด้วยเหมือนกัน

ผู้แสดงความคิดเห็น เล็ก วันที่ตอบ 2009-07-28 07:25:21 IP : 117.47.181.24


ความคิดเห็นที่ 2 (3052434)
avatar
คนว่างวันอาทิตย์ช่วยตอบ

คุณ Jo เข้าใจถูกแล้วครับ แต่ถ้าเขาอยากใส่เกียร์ P ก็เชิญเขา เพราะมันเป็นสิทธิของเขาครับ แต่คุณอยู่หลังเขา คุณเสียว ผมเข้าใจว่าคุณไม่ชอบเสียวแบบนี้ แบบอื่นละชอบ 5555

ผู้แสดงความคิดเห็น คนว่างวันอาทิตย์ช่วยตอบ วันที่ตอบ 2009-07-28 05:54:55 IP : 58.8.80.2


ความคิดเห็นที่ 1 (3052408)
avatar
ดอกจิก

มาขอแอบฟัง อยากรู้เหมียนกัน

ผู้แสดงความคิดเห็น ดอกจิก วันที่ตอบ 2009-07-28 01:10:36 IP : 125.24.243.156



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.